‘ฝึกสมาธิ’ ช่วยลดการทำงานของ ‘สมองลิง’ ในตัวเรา

‘ฝึกสมาธิ’ ช่วยลดการทำงานของ ‘สมองลิง’ ในตัวเรา
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

‘ฝึกสมาธิ’ ช่วยลดการทำงานของ ‘สมองลิง’ ในตัวเรา

ฝึกสมาธิ

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Yale พบว่า การฝึกสมาธิแบบมีสติ (Mindfulness meditation) หรือที่เราเรียกกันว่า ‘วิปัสสนา’ ช่วยลดการทำงานของสมองส่วน default mode หรือ ที่เรียกกันว่า สมองลิง (Monkey mind) ของเราได้

สมองส่วนนี้จะทำงานเวลาที่เราฟุ้งซ่าน คิดถึงเรื่องนู้นนี้ แบบไม่โฟกัส โดยพบว่า ความคิดฟุ้งซ่านนี้ สัมพันธ์กับ ‘ความรู้สึกไม่มีความสุข’ โดยมักจะไปกังวลเกี่ยวกับอดีต หรืออนาคต แทนที่จะอยู่กับปัจจุบัน

นอกจากนี้ นายแพทย์มาดาฟ โกยาล และทีมวิจัย จากมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ ได้ทำงานวิจัย ตีพิมพ์ลงวารสารทางการแพทย์ JAMA พบว่า การฝึกสมาธิแบบมีสติ สามารถลดอาการซึมเศร้าได้ผลดีเท่าๆกับยารักษาซึมเศร้าเลยทีเดียว

งานวิจัยจากสถาบันอื่นก็ได้ผลในทำนองเดียวกันนี้ โดยพบว่าผลการรักษาดีที่สุดเมื่อฝึกสมาธิแบบมีสติ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ขึ้นไป

และยังพบว่า การทำสมาธิเพียง 2.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ วันละประมาณ 20 นาที ก็มีผลให้อาการซึมเศร้าดีขึ้นได้แล้ว

นอกจากช่วยรักษาอาการซึมเศร้าแล้ว การฝึกสมาธิแบบมีสติ ยังช่วยในเรื่องวิตกกังวล ความเจ็บปวดต่างๆ อีกด้วย


ดังนั้น ถ้าตอนนี้ใครรู้สึกไม่มีความสุข หรือ เริ่มมีอาการซึมเศร้า เช่น ไม่อยากทำอะไร แม้แต่สิ่งที่ตัวเองเคยชอบทำ อารมณ์ไม่คงที่ ขึ้นลงง่ายกว่าปกติ ก็ลองเอาไปฝึกกันดูนะครับ

ปล. การฝึกสมาธิแบบมีสติ หรือ วิปัสสนา ทำได้โดยการฝึกสติ อยู่กับปัจจุบัน มองตัวเอง และ สิ่งภายนอกที่เข้ามากระทบ รู้ทันความคิด รู้ทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น ว่ามีอารมณ์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เป็นธรรมชาติของมัน ไม่ต้องห้ามไม่ให้คิด หรือ ไม่ให้รู้สึก
เพียงแค่มอง แล้วก็รู้ทันมัน แค่นั้นพอครับ

อยากให้ทุกคนลอง ‘ฝึกสมาธิแบบมีสติ’ กันวันละนิดวันละหน่อย ไม่ต้องถึง 20 นาทีก็ได้

ผมเชื่อว่า ‘ความสุข’ จะมาเองฮะ

ถ้าเพื่อนๆไม่อยากพลาดความรู้สุขภาพที่น่าสนใจแบบนี้ อย่าลืมกดติดตาม Like และ See First ที่หน้า เพจเฟซบุ๊ค ‘กินอย่างเข้าใจ’ เพื่อไม่พลาดความรู้สุขภาพดีๆที่เข้ามาอัพเดตให้เรื่อยๆนะคับ

บีบีเองฮะ :)



References:
http://www.forbes.com/…/7-ways-meditation-can-actually-ch…/…
http://jamanetwork.com/…/jamainternalme…/fullarticle/1809754
http://www.pnas.org/content/108/50/20254.short


 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending