ตรีผลา (Triphala)

ตรีผลา (Triphala)
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

ตรีผลา (Triphala)

 

ตรีผลา ดีอย่างไร


Overview

ตรีผลา เป็นตำรับยาอายุรเวท ประกอบด้วยส่วนผสมของผลไม้สามชนิด คือ มะขามป้อม สมอพิเภก และ สมอไทย ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน โดยทั่วไปตรีผลามีที่ใช้ในการลดระดับไขมันในเลือด หรืออาการโรคทางเดินอาหารต่างๆ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ใช้ดีทอกซ์ลำไส้ บำรุงร่างกายทั่วไป หรือ ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน


Benefits

ตรีผลาช่วยอย่างไร ?

ตรีผลา ประกอบด้วยผลไม้สามชนิด ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้

  • มะขามป้อม (Phyllanthus emblica, Indian gooseberry, amla)
    เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงมาก โดยผลมะขามป้อมสดมีวิตามินซีสูงกว่าส้มถึง 20 เท่า และในผลยังมีสารที่ช่วยให้วิตามินซีคงตัวอยู่ได้นาน แตกต่างจากผลไม้ทั่วไป นอกจากนี้มะขามป้อมยังมีสารแทนนิน ชื่อ emblicanins A และ B ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแรงกว่าวิตามินซี รวมถึงมีกรดอะมิโน แร่ธาตุมากมาย มะขามป้อมในตำรับยาอายุรเวทมีฤทธิ์เย็น ใช้ในการรักษาท้องเสีย โรคตับ และยังพบว่าอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ลดไขมันในหลอดเลือด ต้านอนุมูลอิสระ ต้านแบคทีเรีย ปกป้องตับกระเพาะ และทางเดินอาหารและ ลดการอักเสบ เพิ่มภูมิคุ้มกันอีกด้วย
  • สมอพิเภก (Terminalia bellirica)
    ในตำรับยาอายุรเวทมีฤทธิ์อุ่น โดยทั่วไปตำรับยาต่างๆจะมีทั้งฤทธิ์เย็น และ อุ่น ผสมกันเพื่อให้ฤทธิ์สมดุลกัน สมอพิเภกมีการนำไปใช้ในการแก้อาการไอ เจ็บคอ ติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือ โรคตับ
  • สมอไทย (Terminalia chebula)
    ในตำรับยาอายุรเวทมีฤทธิ์อุ่น สมอไทยมีการนำไปใช้ในโรคลำไส้อักเสบ ท้องเสีย

ตรีผลา & โรคต่างๆ

ตรีผลาอาจช่วยในโรคต่างๆดังนี้

  • ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน
  • ลดคลอเรสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์
  • ท้องผูก ท้องเสีย
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ลดอาการปวดเข่าในโรคข้อเข่าเสื่อม
  • ลดน้ำหนัก

ทั้งนี้ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ ยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปครับ


Safety

โดยทั่วไป การบริโภคในขนาดอาหารปกติปลอดภัย อาจต้องระมัดระวังการใช้ในภาวะต่างๆดังนี้

  • เบาหวาน อาจทำให้ระดับน้ำตาลลดต่ำลงได้ อาจต้องปรึกษาแพทย์ในการปรับยาเบาหวาน
  • ในทฤษฎีอายุรเวท การกินมะขามป้อมร่วมกับ ขิง บอระเพ็ด กำยาน อาจทำมีผลต่อตับได้ ไม่ควรรับประทานร่วมกัน ส่วนการรับประทานมะขามป้อมอย่างเดียว หรือ ร่วมกับสมอพิเภก สมอไทย ในตรีผลา ยังไม่พบข้อมูลว่ามีผลต่อตับแต่อย่างใด
  • มะขามป้อม มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด หากกินยาละลายลิ่มเลือด หรือ มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานครับ
  • เข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากมะขามป้อมอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง ควรหยุดกินมะขามป้อมอย่างน้อยประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

How to Choose / Use

  • ตรีผลาในรูปแบบน้ำ ให้ดื่มก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง ตามขนาดที่ระบุ ไม่ควรดื่มก่อนนอน หรือ ดื่มตรีผลาแล้ว ไม่ได้รับประทานอาหาร เนื่องจากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานยาลดระดับน้ำตาล ซึ่งอาจมีอาการ หิวใจสั่น ให้รีบรับประทานอาหาร อาการก็จะดีขึ้นครับ

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending