โคเอนไซม์คิว10 (coQ10) : มีประโยชน์อย่างไร ? ใครควรกินเสริมบ้าง ?

โคเอนไซม์คิว10 (coQ10) : มีประโยชน์อย่างไร ? ใครควรกินเสริมบ้าง ?
0.0
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

โคเอนไซม์คิว10 (coQ10)

Coenzyme Q10 / coQ10 / Ubiquinone-10

โคเอนไซม์คิว10


Overview

โคเอนไซม์คิว10 เป็นสารคล้ายวิตามินชนิดหนึ่ง พบมากในหัวใจ ตับ ไต ตับอ่อน พบได้ในอาหารเช่น เนื้อสัตว์ หรือ อาหารทะเล

coQ10 มักมีการใช้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ


ผู้ที่มักมีระดับ CoQ10 ต่ำกว่าคนทั่วไป

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • โรคหัวใจล้มเหลว
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ
  • โรคเกี่ยวกับฟัน
  • โรคติดเชื้อ HIVs
  • ผู้ที่รับประทานยาที่อาจทำให้ระดับ coQ10 ต่ำลง ได้แก่
    • ยาลดไขมันกลุ่มสเตติน (Statin drug) เช่น atorvastatin (Lipitor), lovastatin (Mevacor), pravastatin (Pravachol) and simvastatin (Zocor)
    • ยาเบาหวาน เช่น Glipizide, Glyburide, Tolazamide. Tolbutamide
    • ยาลดไขมันกลุ่มไฟเบรท เช่น gemfibrozil (Lopid)
    • ยาโรคหัวใจ หรือ ความดันโลหิตสูง เช่น atenolol (Tenormin), labetolol (Normodyne), metoprolol (Lopressor or Toprol), and propranolol (Inderal), Clonidine
    • ยาขับปัสสาวะ เช่น hydrochlorothiazide (HCTZ), indapamide and metolazone
    • ยาต้านเศร้า คลายเครียด เช่น amitriptyline (Elavil), doxepin (Sinequan), and imipramine (Tofranil)

Benefits

โคเอนไซม์คิว10 ช่วยอย่างไร ?

โคเอนไซม์คิว10 มีบทบาทสำคัญในกระบวนการผลิตพลังงานของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีฤทธ์ต้านอนุมูลอิสระ


โคเอนไซม์คิว10 & โรคต่างๆ

โคเอนไซม์คิว10 อาจช่วยในโรคต่างๆดังนี้

  • ภาวะขาดโคเอนไซม์คิว10 พบภาวะนี้ได้น้อย อาการที่เกิดขึ้น เช่น อ่อนเพลีย ชัก
  • จอประสาทตาเสื่อมตามอายุ (Age-related macular degeneration) พบว่าการกิน coQ10 ร่วมกับ แอลคาร์นิทีน โอเมก้า-3 ช่วยทำให้การมองเห็นดีขึ้นในผู้ที่เป็นภาวะนี้ได้
  • หัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) บางงานวิจัยพบว่า ระดับ coQ10 ที่ต่ำอาจสัมพันธ์กับภาวะหัวใจล้มเหลว อย่างไรก็ตาม การให้ coQ10 เดี่ยวๆเสริมไม่พบว่าลดการเกิดภาวะนี้ได้ แต่บางงานวิจัยพบว่าการกิน coQ10 เสริมร่วมกับยาและการรักษาหลักไปด้วยอาจมีประโยชน์
  • ความดันโลหิตสูง (High Blood Pressure) งานวิจัยส่วนใหญ่พบว่าการกิน coQ10 เดี่ยวๆ รวมถึงการกินร่วมไปกับยาลดความดัน สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้
  • ปลายประสาทอักเสบจากเบาหวาน (Diabetic neuropathy) การศึกษาพบว่าการกิน coQ10 ช่วยลดการทำลายปลายประสาทจากเบาหวาน และ อาการปวดปลายประสาทจากเบาหวาน
  • โรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV/AIDS) พบว่าการกิน coQ10 เสริมในผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อเอชไอวี ช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้นได้
  • ปวดศีรษะไมเกรน พบว่าการกิน coQ10 ช่วยป้องกันการเป็นไมเกรนได้ โดยลดความถี่ลงได้ประมาณ 30% และลดจำนวนวันที่เป็นได้ประมาณ 45% โดยอาจต้องใช้เวลา 3 เดือนหลังเริ่มรับประทานกว่าจะได้ผลดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การกิน coQ10 หลังจากเกิดอาการแล้วไม่พบว่าช่วยลดอาการได้
  • หัวใจวายเฉียบพลัน พบว่าการกิน coQ10 ตั้งแต่ 3 วันหลังจากเกิดภาวะนี้ และกินต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี พบว่าสามารถลดความเสี่ยงการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันซ้ำได้
  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) พบว่าผู้ที่กิน coQ10 อาจช่วยชะลอความเสื่อมของสมองในผู้ที่เริ่มต้นเป็นพาร์กินสันได้ อย่างไรก็ตาม การกิน coQ10 หลังจากเป็นไประยะหนึ่งแล้วอาจไม่ได้ช่วยลดอาการดังกล่าว
  • ภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย

Safety

  • การกิน coQ10 ในผู้ใหญ่ทั่วไปน่าจะปลอดภัย ผลข้างเคียงพบได้น้อย เช่น จุกแน่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • นอกจากนี้ยังอาจมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต จึงควรตรวจวัดความดันโลหิตก่อนการรับประทาน
  • หากมีอาการดังกล่าวสามารถแบ่งเป็นกินวันละ 2-3 ครั้งแทนที่จะกินมื้อเดียวมากๆ สามารถลดผลข้างเคียงดังกล่าวได้
  • ควรระมัดระวังการใช้ร่วมกับยาต่างๆเหล่านี้
    • ยาเคมีบำบัด เนื่องจาก coQ10 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงมีการกังวลว่าอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาเคมีบำบัดลดลงได้
    • ยาลดความดัน เนื่องจาก coQ10 อาจทำให้ความดันโลหิตลดลง การกินร่วมกับยาลดความดันอาจทำให้ความดันโลหิตลดลงมากเกินไปได้
    • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด Warfarin เนื่องจาก coQ10 อาจช่วยในการแข็งตัวของเลือด การกิน coQ10 อาจทำให้ประสิทธิภาพในการต้านการแข็งตัวของเลือดของยา Warfarin ลดลงได้

How to Choose / Use

ขนาดยาที่ใช้ในงานวิจัยด้านต่างๆดังนี้

  • ภาวะขาดโคเอนไซม์คิว10 กิน 150 mg ต่อวัน
  • ภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้ใหญ่ 100 mg ต่อวัน โดยแบ่งทานเป็น 2-3 เวลา
  • ลดการเป็นซ้ำในผู้ที่เพิ่งเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ 120 mg ต่อวัน โดยแบ่งทานเป็น 2 เวลา
  • ความดันโลหิตสูง 120-200 mg ต่อวัน โดยแบ่งทานเป็น 2 เวลา
  • ป้องกันปวดศีรษะไมเกรน 100 mg วันละ 3 เวลา
  • โรคพาร์กินสัน มีงานวิจัยในขนาด 300,600,1200,2400 mg ต่อวัน โดยแบ่งทานเป็น 3-4 ครั้ง
  • ภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย 200-300 mg ต่อวัน
  • โรคติดเชื้อ HIV / AIDs 200 mg ต่อวัน

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending