กระเทียม (Garlic)

กระเทียม (Garlic)
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

กระเทียม (Garlic)

กระเทียม


Overview

กระเทียม มักใช้ในโรคเกี่ยวกับหัวใจ และหลอดเลือด เช่น ความดันสูง ความดันต่ำ หลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดแดงแข็ง

นอกจากนี้ ยังมีการใช้ในการป้องกันหวัด รักษาเบาหวาน เข่าเสื่อม ต่อมลูกหมากโต ภูมิแพ้ ไข้หวัด ไอ คัดจมูก ปวดท้อง แผลกระเพาะอาหาร ท้องเสีย ริดสีดวง ปวดกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย ปวดข้อ เก๊าท์ ตับอักเสบ ประจำเดือนผิดปกติ

บางคนใช้กระเทียมในการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด


Benefits

กระเทียมช่วยอย่างไร ?

กระเทียมมีสารสำคัญ คือ Allicin ที่ทำให้เกิดกลิ่นเฉพาะในกระเทียม Allicin ช่วยในการลดไขมัน ลดความดัน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านแบคทีเรีย ต้านการแข็งตัวของเลือด และ ต้านมะเร็ง

ส่วนใหญ่จึงมักนำมาใช้ในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ปรับภูมิคุ้มกันให้สมดุล ป้องกันหวัด ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันและรักษามะเร็ง


กระเทียม & โรคต่างๆ

กระเทียมอาจมีประโยชน์ในโรคต่างๆดังนี้

  • ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (สาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ) พบว่าเมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดแดงมักเสียความยืดหยุ่นไป การกินกระเทียมต่อเนื่องทุกวันเป็นเวลา 2 ปี ช่วยให้ภาวะหลอดเลือดแข็งไม่เป็นเพิ่มขึ้น
  • ความดันโลหิตสูง บางงานวิจัยพบว่า การกินกระเทียมสามารถลดความดันโลหิตลงได้ 7-8% ในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ พบว่าการกินกระเทียม ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ ในผู้ที่เป็นเนื้องอกลำไส้ใหญ่ การกิน Aged Garlic Extract ขนาดสูงทุกวันเป็นเวลา 1 ปี ช่วยลดการเพิ่มจำนวนของก้อนเนื้องอก อย่างไรก็ตาม กระเทียมธรรมดาไม่พบว่ามีผลดีดังกล่าว
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก พบว่าชายชาวจีนที่กินกระเทียม 1 กลีบต่อวัน มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าคนทั่วไป 50%
  • โรคผิวหนังน้ำกัดเท้า พบว่าการทาเจลกระเทียมบริเวณที่เป็น สามารถช่วยรักษาโรคน้ำกัดเท้าได้
  • ป้องกันหวัด พบว่าการกินกระเทียมเป็นประจำอาจช่วยลดความถี่ และ จำนวนครั้งในการเป็นหวัดได้
  • ผมร่วง งานวิจัยเบื้องต้นพบว่า การทาเจลกระเทียม 5% ร่วมกับยาสเตอรอยด์เป็นเวลา 3 เดือน ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของเส้นผมได้
  • ต่อมลูกหมากโต พบว่าการกินสารสกัดกระเทียมทุกวันเป็นเวลา 1 เดือน ช่วยลดขนาดของต่อมลูกหมาก และ ความถี่ในการไปปัสสาวะได้
  • หลอดเลือดหัวใจตีบ บางงานวิจัยพบว่า การกินกระเทียมต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยลดความเสี่ยงของอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน และการเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ Aged Garlic อาจช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดที่ตีบเป็นมากขึ้นด้วย
  • โรคกระเพาะ การกินกระเทียม และสมุนไพรอื่นๆ วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 6 เดือน ช่วยให้การย่อยอาหารดีขึ้น ลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคในกระเพาะ และลดความเสี่ยงของมะเร็งกระเพาะอาหารในผู้ที่มีกระเพาะอาหารอักเสบ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการทดลองใช้เฉพาะกระเทียมเดี่ยวๆ
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร พบว่ายิ่งกินกระเทียมยิ่งมาก สัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารที่น้อยลง อย่างไรก็ตาม การกิน Aged Garlic Extract ไม่พบว่าสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
  • มะเร็งหลอดอาหาร ผลงานวิจัยยังออกมาไม่ตรงกัน บางงานวิจัยพบว่าการกินกระเทียมสดไม่ช่วยป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร อย่างไรก็ตามการศึกษาในประชากรพบว่า ผู้ที่กินกระเทียมทุกสัปดาห์มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งหลอดอาหารน้อยกว่าคนทั่วไป
  • ปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย หลักฐานเบื้องต้นพบว่า การกิินสาร Allicin ที่พบในกระเทียมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกายในนักกีฬาได้
  • สมรรถภาพในการออกกำลังกาย หลักฐานเบื้องต้นพบว่า การกินกระเทียม 900 mg ก่อนออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มความทนทาน (Endurance) ในนักกีฬาวัยรุ่นได้
  • ตาปลาที่เท้า พบว่าการทาสารสกัดจากกระเทียมบริเวณที่เป็นตาปลา เช้า เย็น เป็นเวลาอย่างน้อย 10 – 20 วัน ช่วยให้ตาปลาดีขึ้นได้
  • ลดน้ำหนัก พบว่าการกินกระเทียม ร่วมกับสมุนพรอื่นๆ เป็นเวลา 2 เดือน สามารถช่วยลดน้ำหนัก ไขมัน รอบเอวและสะโพก เมื่อใช้ร่วมกับการปรับอาหาร และ ออกกำลังกาย

Safety

กระเทียมค่อนข้างปลอดภัยเมื่อใช้อย่างเหมาะสม ในงานวิจัยมีการใช้กระเทียมถึง 7 ปีอย่างปลอดภัย

กระเทียมอาจทำให้มีกลิ่นปาก แสบร้อนปาก หรือแสบท้องได้ อาจทำให้เกิดอาการจุกแน่น มีลมในท้อง คลื่นไส้ อาเจียน กลิ่นตัว หรือ ท้องเสียได้ ผลข้างเคียงดังกล่าวมักเป็นมากในกระเทียมสด นอกจากนี้กระเทียมอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง

ควรใช้กระเทียมอย่างระมัดระวังในภาวะต่างๆต่อไปนี้

  • โรคการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หรือผู้ที่กินยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือ เกล็ดเลือด เช่น Warfarin, Aspirin เนื่องจากกระเทียมอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง โดยเฉพาะกระเทียมสด
  • โรคกระเพาะ หรือ การย่อยอาหารผิดปกติ กระเทียมอาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  • ความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากกระเทียมอาจลดความดันได้ ในทางทฤษฎีอาจทำให้ผู้ที่มีความดันต่ำอยู่แล้วต่ำเกินไปได้
  • เข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากกระเทียมอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง ควรหยุดกระเทียมก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • ผู้ที่รับประทานยาต่างๆ ต่อไปนี้ไม่ควรกินกระเทียมเสริม เนื่องจากอาจทำให้ยามีประสิทธิภาพลดลงได้ เช่น ยาวัณโรค (Isoniazid) ยาต้านไวรัสเอชไอวี (Nevirapine,Efavirenz,Delavirdine)

 

นอกจากนี้ ผู้ที่กินยาคุมกำเนิด กระเทียมอาจลดประสิทธิภาพยาคุม จึงควรป้องกันด้วยถุงยางเพิ่มเติมด้วย


How to Choose / Use

  • ความดันโลหิตสูง มีการใช้กระเทียมขนาด 300-1500 mg แบ่งกิน 2-3 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน นอกจากนี้มีการใช้ Aged Garlic Extract ขนาด 960 mg – 7.2 grams แบ่งกิน 2-3 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน
  • ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (สาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ) ใช้กระเทียม 300-900 mg ต่อวัน มีการศึกษาการใช้เป็นเวลา 1-4 ปี นอกจากนี้มีการใช้ Aged Garlic Extract ขนาด 250 mg กิน 1-4 ครั้งต่อวัน
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีการใช้ Aged Garlic Extract ขนาด 2.4 ml เป็นเวลา 1 ปี

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending