โฟลิค (Folic acid) : คืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ? ใครควรกินเสริมบ้าง ?

โฟลิค (Folic acid) : คืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ? ใครควรกินเสริมบ้าง ?
0.0
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

โฟลิค (Folic acid)
Folic acid / Folate / Vitamin B9

โฟลิค


Overview

โฟเลท หรือ กรดโฟลิค เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วิตามิน B9 เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง สามารถละลายน้ำได้ โฟลิคพบในอาหารเช่น ผักใบเขียว เช่น ผักโขม บร็อคโคลี่ ผักกาดหอม หรือ กล้วย ถั่ว เห็ด เนื้อสัตว์


Benefits

โฟลิค ช่วยอย่างไร ?

โฟลิคมีส่วนช่วยในการสร้างเซลล์ต่างๆ เช่น เซลล์เม็ดเลือด เซลล์ระบบประสาท ช่วยในการสร้าง DNA


โฟลิค & โรคต่างๆ

โฟลิคมีประโยชน์กับใครบ้าง ?

  • ภาวะขาดโฟเลท
  • บำรุงหญิงมีครรภ์ ป้องกันความผิดปกติเกี่ยวกับสมองและเส้นประสาทของทารกในครรภ์ (Neural Tube Defects) พบว่าการกินโฟลิคในช่วงก่อน และขณะตั้งครรภ์สามารถลดความเสี่ยงที่ทารกจะมีความผิดปกตินี้ได้
  • โรคไต พบว่าการกินโฟลิคเสริมช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดโฮโมซิสเทอีน ซึ่งอาจสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตมักมีค่าโฮโมซิสเทอีนสูง
  • ภาวะโฮโมซิสเทอีนในเลือดสูง พบว่าโฮโมซิสเทอีนสูงสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง การกินโฟลิคร่วมกับวิตามินบี12 ช่วยลดโฮโมซิสเทอีนลงได้ 20-30% ในผู้ที่มีค่าโฮโมซิสเทอีนปกติ หรือ สูงเล็กน้อย

นอกจากนี้ ยังอาจช่วยในภาวะต่างๆต่อไปนี้

  • ความดันโลหิตสูง พบว่าการกินโฟลิคติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือนครึ่ง ช่วยลดความดันโลหิตได้ อย่างไรก็ตามในคนที่กินยาความดันอยู่แล้วไม่พบว่าช่วยลดความดันมากขึ้นแต่อย่างใด
  • จอประสาทตาเสื่อมตามอายุ (age-related macular degeneration) พบว่าการกินวิตามินบี12 ร่วมกับโฟลิค และวิตามินบี6 และวิตามินบีอื่นๆ อาจช่วยลดโอกาสการเกิดโรคนี้ได้

Safety

โฟลิคค่อนข้างปลอดภัย คนทั่วไปไม่พบว่ามีผลข้างเคียงใดเมื่อกินขนาดไม่เกิน 1 mg

 

หากกินในขนาดสูงเกินติดต่อเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ผื่น การนอนหลับผิดปกติ กระวนกระวาย สับสน ตื่นตัวมากกว่าปกติได้

 

บางกลุ่มมีความกังวลว่าการกินโฟลิคขนาดสูง 0.8-1.2 mg ต่อวัน โดยกินต่อเนื่องเป็นเวลานานในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ อาจทำให้มีความเสี่ยงหัวใจวายมากขึ้น และบางงานวิจัยพบว่าการกินขนาดสูงเป็นเวลานานๆนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งต่างๆ เช่นปอดและต่อมลูกหมาก

 

อาจต้องระมัดระวังการกินโฟลิคในผู้ที่มีภาวะต่างๆต่อไปนี้

  • หลังการทำหัตถการที่ช่วยขยายหลอดเลือด เช่น บอลลูนหัวใจ การฉีด หรือกิน โฟลิคร่วมกับวิตามินบี6 วิตามินบี12 อาจทำให้หลอดเลือดที่ตีบเป็นมากขึ้นได้ อย่างไรก็ตามมีบางงานวิจัยเช่นกันที่ได้ผลตรงกันข้าม คือพบว่าช่วยลดการเป็นหลอดเลือดตีบซ้ำหลังการทำบอลลูนหัวใจ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทาน หากได้รับการทำหัตถการดังกล่าว
  • มะเร็ง บางงานวิจัยเ่บื้องต้นพบว่า การกินโฟลิคขนาดสูง 0.8-1 mg ต่อวัน อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งต่างๆได้ จนกว่าจะมีการศึกษามากกว่านี้ ผู้ที่มีประวัติมะเร็งควรหลีกเลี่ยงการกินโฟลิคขนาดสูง
  • โรคหัวใจ บางงานวิจัยเ่บื้องต้นพบว่า การกินโฟลิคร่วมกับวิตามินบี6 อาจเพิ่มความเสี่ยงการเป็นหัวใจล้มเหลวได้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว
  • ผู้ที่รับประทานยาเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ในการกินร่วมกับโฟลิค
    • ยากันชัก Phenytoin (Dilantin), Fosphenytoin, Phenobarbital, Primidone
    • Methotrexate
    • ยาฆ่าพยาธิ Pyrimethamine

เนื่องจากโฟลิคอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาต่างๆเหล่านี้ลดลง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่า การให้โฟลิคร่วมไปกับยาต่างๆดังกล่าวนี้ ช่วยลดผลข้างเคียงจากยาเหล่านี้ได้ เพราะยาเหล่านี้มักทำให้ระดับโฟลิคลดลง การให้โฟลิคเสริมมักมีประโยชน์มากกว่าโทษ


How to Choose / Use

กลุ่มบุคคล ขนาดที่แนะนำต่อวัน (RDA: Recommended Daily Allowance)
ผู้ชาย 0.4 mg
ผู้หญิง 0.4-0.8 mg
หญิงตั้งครรภ์ 0.6 mg
หญิงให้นมบุตร 0.5 mg

 

  • หญิงช่วงก่อนตั้งครรภ์ (ที่พร้อมจะมีบุตร) 0.4 mg ต่อวัน
  • ผู้ที่ขาดโฟลิค 0.4-1 mg ต่อวัน
  • ภาวะโฮโมซิสเทอีนในเลือดสูง 0.8-1 mg

Reference:

  • Lewis DP, Van Dyke DC, Willhite LA, Stumbo PJ, Berg MJ. Phenytoin-folic acid interaction. Ann Pharmacother. 1995 Jul-Aug;29(7-8):726-35.
  • http://www.medscape.com/viewarticle/783438
  • http://www.medscape.org/viewarticle/452026

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending