วิตามินเอ (Vitamin A) : ช่วยเรื่องสายตาจริงไหม ? จำเป็นต้องกินเสริมหรือไม่ ?

วิตามินเอ (Vitamin A) : ช่วยเรื่องสายตาจริงไหม ? จำเป็นต้องกินเสริมหรือไม่ ?
0.0
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

วิตามินเอ (Vitamin A)

วิตามินเอ


Overview

  • วิตามินเอ เป็นวิตามินละลายในไขมันชนิดหนึ่ง แบ่งหลักๆเป็น 2 ชนิดคือ เรตินอยด์ (Retinoids) พบในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น นม เนย เนื้อสัตว์ ปลาทะเล อีกชนิดหนึ่ง คือ เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) พบในพืชผัก ผลไม้
  • American Heart Association แนะนำให้บริโภคสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งรวมถึงวิตามินเอในรูปเบต้าแคโรทีน โดยให้กินผักผลไม้ ธัญพืชให้เพียงพอ มากกว่าจากอาหารเสริม จนกว่าจะมีการศึกษาของประโยชน์โทษอย่างแน่ชัด เนื่องจากหากรับประทานในขนาดสูงกว่าขนาดทั่วไปที่แนะนำอาจทำให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ได้
  • โดยทั่วไป วิตามินเอมีที่ใช้มากในการรักษาสิว หรือริ้วรอยบนใบหน้า โดยอยู่ในรูปยาทา หรือยากิน (เช่น Accutane) ที่ได้รับจากหมอผิวหนัง นอกจากนี้ยังมีใช้ในโรคตาแห้ง จากการขาดวิตามินเอ

Benefits

วิตามินเอ มีส่วนช่วยในการทำงาน เสริมสร้างร่างกาย โดยเฉพาะ ตา ผิวหนัง และ ภูมิต้านทานโรค


วิตามินเอ & โรคต่างๆ

วิตามินเอ ช่วยในภาวะ และโรคต่างๆต่อไปนี้

  • โรคขาดวิตามินเอ ซึ่งมักพบใน
    • ผู้ที่ขาดสารอาหาร ขาดโปรตีน
    • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ดูดซึมสารอาหารหรือไขมันได้น้อยกว่าปกติ เช่น ตับอ่อนอักเสบ ลำไส้อักเสบ พยาธิปากขอในลำไส้ ตับแข็ง (อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคตับควรตรวจว่ามีภาวะขาดวิตามินเอหรือไม่ เนื่องจากวิตามินเออาจมีผลเสียต่อตับได้)
    • ผู้ป่วยเบาหวาน ไทรอยด์สูง (ไทรอยด์เป็นพิษ)
    • ผู้ที่มีภาวะขาดสังกะสี Zinc อาจทำให้เกิดอาการขาดวิตามินเอร่วมด้วย การรับประทานสังกะสีร่วมกับวิตามินเอเสริม ช่วยให้ภาวะดังกล่าวดีขึ้นได้
  • ต้อกระจก การบริโภควิตามินเอในอาหารเป็นประจำ พบว่ามีความเสี่ยงเป็นต้อกระจกน้อยกว่าคนทั่วไป
  • โรคจอประสาทตาเสื่อม Retinitis pigmentosa พบว่าวิตามินเอสามารชะลอการทำลายจอประสาทตาจากตัวโรคได้
  • มะเร็งเต้านม หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนที่มีญาติเป็นมะเร็งเต้านมที่รับประทานวิตามินเอขนาดสูงในอาหาร พบว่ามีความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านมลดลง อย่างไรก็ตามยังไม่มีการสรุปว่าการกินวิตามินเอเสริมให้ประโยชน์เช่นเดียวกันหรือไม่

Safety

โดยทั่วไปการรับประทานวิตามินเอปลอดภัย เมื่อใช้น้อยกว่า 10,000 units (IU) ต่อวัน การรับประทานวิตามินเอเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน เบื่ออาหาร จุกแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ไข้ เหงื่อออกมากได้

อาจต้องระมัดระวังการใช้ในกลุ่มต่อไปนี้

  • ในผู้สูงอายุ หรือ หญิงวัยหมดประจำเดือน บางงานวิจัยพบว่าหากบริโภควิตามินเอขนาดสูง อาจเสี่ยงต่อกระดูกพรุน และ กระดูกสะโพกหักมากขึ้น
  • ผู้ป่วยโรคตับ หลีกเลี่ยงการรับประทานวิตามินเอเสริม เนื่องจากอาจเกิดผลเสียต่อตับมากขึ้นได้
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดผลเสียต่อตับ
  • ผู้ป่วยโรค Type V hyperlipoproteinemia อาจเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากวิตามินเอมากขึ้น ไม่ควรรับประทานวิตามินเอเสริม
  • ผู้ที่รับประทานยาที่มีผลต่อตับอยู่เดิม เช่น พาราเซตามอล ยากันชัก ยาวัณโรค ยาลดไขมันกลุ่ม statin ยาฆ่าเชื้อรา
  • ผู้ที่รับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น Warfarin เนื่องจากการรับประทานวิตามินเอปริมาณมากอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้าลงได้

ผู้ที่ทานนม Low fat ที่มีวิตามินเอมาก หรือ กินผักและผลไม้เป็นประจำไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินเอเสริม


How To Choose / Use

  • ปริมาณวิตามินเอทั้งหมดที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน สำหรับบุคคลทั่วไป (รวมทั้งในอาหารปกติ และ ในอาหารเสริม)
อายุ Vitamin A: Recommended Dietary Allowance (RDA) in micrograms (mcg) of Retinol Activity Equivalents (RAE)
เด็ก
1-3 ปี 300 ไมโครกรัม/วัน (1,000 IU/วัน)
4-8 ปี 400 ไมโครกรัม/วัน (1,320 IU/วัน)
9-13 ปี 600 ไมโครกรัม/วัน (2,000 IU/วัน)
ผู้หญิง
14 ปีขึ้นไป 700 ไมโครกรัม/วัน (2,310 IU/วัน)
ตั้งครรภ์ 14-18 ปี : 750 ไมโครกรัม/วัน (2,500 IU/วัน)
19 ปีขึ้นไป : 770 ไมโครกรัม/วัน (2,565 IU/วัน)
ให้นมบุตร น้อยกว่า 19 ปี : 1,200 ไมโครกรัม/วัน (4,000 IU/วัน)
19 ปีขึ้นไป : 1,300 ไมโครกรัม/วัน (4,300 IU/วัน)
ผู้ชาย
14 ปีขึ้นไป 900 ไมโครกรัม/วัน (3,000 IU/วัน)

 

  • ผู้ที่มีการดูดซึมไขมันผิดปกติ เช่น ตับอ่อนอักเสบ ลำไส้อักเสบ พยาธิปากขอในลำไส้ และ มีภาวะขาดวิตามินเอ อาจต้องบริโภควิตามินเอในรูปละลายน้ำเพื่อให้ดูดซึมวิตามินเอได้มากขึ้น

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending