ปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม

ปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม
User Rating 0 (0 votes)
Sending
5 (1 review)

ปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม
(Knee pain, Knee osteoarthritis)
shutterstock_176622008


Overview

ปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม คืออะไร ?

คือ การที่กระดูกอ่อนที่เป็นตัวป้องกันกระแทกและสร้างน้ำเลี้ยงข้อเข่า บริเวณข้อเข่าถูกทำลาย ทำให้กระดูกเข้ามาชิดกันมากขึ้น เกิดการเสียดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวด บวมข้อเข่า หรือ ตัวกระดูกงอกขึ้นมาทดแทน ทำให้เข่าผิดรูป เข่าติด หรือเคลื่อนไหวได้น้อยลง


ข้อเข่าเสื่อม มีอาการอย่างไรบ้าง ?

  • ปวดรอบข้อเข่า
  • เป็นมาเป็นเวลานาน ค่อยๆเป็นมากขึ้น
  • มักเป็นในผู้สูงอายุ
  • เข่าโก่ง เข่าผิดรูป
  • มีเสียงกรอบแกรบเมื่อขยับข้อเข่า

สาเหตุของอาการปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม

  • อายุมาก เนื่องจากการกระดูกอ่อนบริเวณข้อซ่อมแซมตัวเองได้น้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น
  • เพศ โดยเพศหญิงพบว่ามีโอกาสเป็นเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย
  • น้ำหนักมาก จะทำให้แรงกดดันที่ข้อต่างๆโดยเฉพาะข้อเข่าเพิ่มขึ้น
  • อุบัติเหตุที่ข้อเข่า เนื่องจากร่างกายอาจซ่อมแซมตัวเองได้ไม่ดีเท่าเดิม
  • เล่นกีฬาที่แรงกระแทกเข่ามากเป็นประจำ เช่น ฟุตบอล เทนนิส วิ่งระยะยาว อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายแบบไม่หนักเกินไป สามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ลดโอกาสข้อเข่าเสื่อมได้
  • นั่งพับเพียบ คุกเข่า หรือ นั่งยอง หรือยกของหนักบ่อยๆ จะทำให้แรงกดดันในข้อเข่ามาก เสี่ยงต่อเข่าเสื่อมมากขึ้นได้
  • โรคข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ เก๊าท์

การรักษา ปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม

  • ข้อเข่าเสื่อม เป็นการเสื่อมของกระดูกอ่อนและกระดูกบริเวณข้อเข่า หากเป็นแล้วจะเป็นไปตลอด แต่สามารถทำตาม My Action เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น และ ลดอาการปวดได้นะครับ
  • หากอาการเป็นมาก ปฏิบัติตาม My Action แล้วอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ครับ ยาที่อาจได้รับมา เช่น
    • ยาแก้ปวดพาราเซตามอล
    • ยาแก้ปวดแก้อักเสบ กลุ่มที่ 1

เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen), ไดโคลฟีแนค (Diclofenac) , นาพร็อกเซน (Naproxen sodium)

ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์ อาจทำให้เสี่ยงต่อเลือดออกในกระเพาะ หรือเสี่ยงต่อโรคไตได้ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โดยพบว่าหากจำเป็นต้องใช้ ยาNaproxen มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองน้อยที่สุดในยาแก้ปวดแก้อักเสบกลุ่มที่ 1 และ 2 นี้ครับ

  • ยาแก้ปวดแก้อักเสบ กลุ่มที่ 2

เช่น ซีลีเบร็ก Celebrex (Celecoxib), อาร์คอกเซีย Arcoxia (Etoricoxib) เป็นยาที่พัฒนาจากกลุ่มข้างต้น มีราคาแพง ลดความเสี่ยงต่อเลือดออกในกระเพาะ

ข้อควรระวัง พบว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองมากขึ้น โดยเฉพาะหากกินติดต่อกันเป็นเวลานาน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่เสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง เช่น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน

  • ยาแก้ปวดกลุ่มอนุพันธ์ของฝิ่น

เช่น ทรามอล Tramadol, อัลตราเซต Ultracet (Tramadol+Paracetamol) เป็นยาผสมซึ่งมีพาราเซตามอลผสมด้วย จึงไม่ควรกินยาพาราเซตามอลซ้ำซ้อน
ข้อควรระวัง อาจมาผลข้างเคียงเช่น ท้องผูก คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ (พบได้บ่อย ประมาณ 10-40%) หากกินเป็นเวลานานอาจมีอาการติดยาได้

เป็นยากลุ่มที่เชื่อว่าเพิ่มน้ำในข้อเข่า เนื่องจากกลูโคซามีนเป็นสารตั้งต้นของน้ำหล่อเลี้ยงในข้อเข่า
ข้อควรระวัง ระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน อาจทำให้คุมน้ำตาลได้ยากขึ้น และ การใช้เป็นเวลานานอาจทำให้ความดันลูกตาเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อโรคต้อหินมากขึ้นได้

  • นอกจากนี้หากอาการไม่ดีขึ้น คุณหมออาจแนะนำให้ ฉีดยา หรือ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หากข้อเข่าเสื่อมเป็นมากแล้วครับ
  • การฝังเข็มรักษา

เป็นหนึ่งในการรักษาทางเลือกที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การยอมรับว่าได้ผลดี ปลอดภัย การฝังเข็มจะช่วยลดอาการปวด และบวม ของข้อเข่า ลดการใช้ยา โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงในการใช้ยา หรือ การผ่าตัด การฝังเข็มเป็นทางเลือกที่ดี ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นเข่าเสื่อมดีขึ้นได้ครับ


My Action

1. ออกกำลังกาย เพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อรอบเข่า

โดยนั่งตัวตรงบนเก้าอี้ แล้วค่อยๆเตะปลายเท้าขึ้นจนขาขนานกับพื้น นิ่งค้างไว้นับ 1-10 ช้าๆ แล้วจึงเอาลง สามารถทำได้บ่อยๆ ทำซ้ำอย่างน้อยข้างละ 10 ครั้ง เช้า เย็น จะช่วยให้กล้ามเนื้อรอบเข่าทำงานได้ดีขึ้น ลดแรงกดบริเวณข้อเข่าครับ

2. ลดน้ำหนัก หากอ้วน หรือ น้ำหนักเกิน

สามารถช่วยเรื่องอาการปวดเข่าได้มากเลยนะครับ เนื่องจากข้อที่รับน้ำหนัก โดยเฉพาะข้อเข่า และข้อสะโพก จะรับแรงกด 3-4 เท่าของน้ำหนักตัวเวลาเราเดิน หรือ ขึ้นลงบันได ดังนั้นถ้าน้ำหนักลดลง 1 กิโลกรัม ก็จะสามารถลดแรงกดที่ข้อเข่าได้หลาย 3-4 กิโลกรัมเลยครับ

3. ใช้ยาทา ยานวด

เช่น เคาเตอร์เพน (Methyl Salicylate, Menthol), เจลพริก (สารสกัดพริก แคปไซซิน) สามารถลดอาการปวดได้หากอาการเป็นไม่มาก บางคนอาจมีอาการแสบร้อน ผิวหนังแดงได้บริเวณที่ทา


วิตามิน อาหารเสริม สมุนไพร

หากทำตามคำแนะนำใน My Action ด้านบนแล้วยังไม่ดีขึ้น อยากจะลองอาหารเสริม ผมได้รวบรวมสมุนไพร อาหารเสริมที่อาจช่วยเรื่องปวดข้อ ปวดเข่าเอาไว้ให้แล้วครับ


ข้อเข่าเสื่อมเรื่องธรรมดาครับ อย่าได้กลัว อย่างแรกลดอ้วนก่อนเลยครับ ถ้าอ้วนอยู่ลดได้ 2-3 กิโลกรัม ก็ช่วยได้เยอะแล้วครับ อย่างที่สองก็ออกกำลังกล้ามเนื้อรอบเข่าตามที่สอนด้านบนเลยครับ ง่ายๆ แต่ต้องสม่ำเสมอนะครับ อยากหายต้องทำวันนี้เลยครับ ห้ามขี้เกียจ ด้วยความห่วงใยครับ :)


 

1 thought on “ปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending