กินอะไร ?? เสริมไทรอยด์ เพิ่มการเผาผลาญ

กินอะไร ?? เสริมไทรอยด์ เพิ่มการเผาผลาญ
0.0
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

อาหารที่ช่วยการทำงานของไทรอยด์

หลังจากที่เรารู้กันแล้วว่า ผักอะไรที่ควรเลี่ยงในคนที่การเผาผลาญไม่ดี ไทรอยด์ต่ำ ทีนี้เรามาดูอาหารที่ช่วยการทำงานของไทรอยด์กันบ้างฮะว่าจะกินอะไรเสริมกันบ้างดี ?

อาหารเพิ่มเผาผลาญ เสริมไทรอยด์


  1. อาหารที่มี ไอโอดีน สูง

เนื่องจากเราทราบกันอยู่แล้วว่า แร่ธาตุไอโอดีน ช่วยเสริมการทำงานของไทรอยด์ ในคนที่ขาดไอโอดีน เช่นคนที่อยู่ห่างไกลทะเลในสมัยก่อน การคมนาคมขนส่งของข้ามพื้นดียังไม่สะดวก จึงไม่ค่อยได้กินอาหารทะเล หรือเกลือทะเลซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของไอโอดีน ทำให้ไทรอยด์ต่ำ การเผาผลาญไม่ดี น้ำหนักขึ้นเรื่อยๆโดยไม่มีสาเหตุได้ ดังนั้นไอโอดีนจึงสำคัญมากสำหรับการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งควบคุมการเผาผลาญของเรา อาหารที่มีไอโอดีนสูง เช่น

  • สารหร่ายคอมบุ (kelp) สาหร่ายโนริ (nori) และ สาหร่ายอื่นๆ
  • เกลือผสมไอโอดีน –> เกลือทั่วไปของไทยมักผสมไอโอดีนอยู่แล้ว เนื่องจากมีกฎหมายให้ผสมไอโอดีนลงไปด้วย เพื่อป้องกันคนเป็นไทรอยด์จากการขาดไอโอดีนนี่แหละฮะ แต่เกลือที่นำเข้าบางชนิด เช่น เกลือโคเชอร์ตามร้านสเต็ก เกลือหิมาลัย มักไม่ได้ผสมไอโอดีนครับ
  • ผักชีล้อม (fennel)
  • นมวัว
  • ไข่
  • ลูกเกด

  1. อาหารที่มี กรดอะมิโนไทโรซีน (Tyrosine) สูง

    เนื่องจากกรดอะมิโนไทโรซีนเป็นสารตั้งต้นของการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ของเรา อาหารที่มีไทโรซีนสูง เช่น

  • เมล็ดฟักทอง
  • ปลา เช่น แซลมอน
  • เป็ด ไก่
  • ไข่
  • กล้วย
  • อะโวคาโด
  • อัลมอนด์

  1. อาหารที่มี แร่ธาตุซีลีเนียม (Selenium) สูง

ต่อมไทรอยด์ เป็นอวัยวะที่มีซีลีเนียมต่อกรัมสูงสุดในร่างกาย ซีลีเนียมเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และมีส่วนสำคัญในกระบวนการเมตาบอลิซึมของฮอร์โมนไทรอยด์

 

จริงๆแล้วมีงานวิจัยพบว่านอกจากคนที่ไทรอยด์ต่ำควรรับประทานอาหารที่มีซีลีเนียมแล้ว คนที่มีโรคไทรอยด์ที่สัมพันธ์กับภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น ไทรอยด์อักเสบ (Hashimoto’s thyroiditis) รวมถึงไทรอยด์สูง (Graves’ disease) ก็ได้ประโยชน์จากการกินซีลีเนียมเช่นกัน

 

อาหารที่มีซีลีเนียมสูง เช่น

  • ปลา
  • เนื้อสัตว์
  • เมล็ดทานตะวัน
  • ถั่วบราซิล (Brazil nuts)
  • ธัญพืช และถั่วต่างๆ

เพื่อนๆที่มีปัญหาเรื่องการเผาผลาญลองเอาไปปรับการกินกันดูนะฮะ หวังว่าจะได้ประโยชน์กันนะคร้าบบ แล้วเจอกันฮะ :D



References:

  • Chandra AK, Mukhopadhyay S, Lahari D, Tripathy S. Goitrogenic content of Indian cyanogenic plant foods & their in vitro anti-thyroidal activity. Indian J Med Res. 2004 May;119(5):180-5.
  • Rungapamestry V, Duncan AJ, Fuller Z, Ratcliffe B. Effect of cooking brassica vegetables on the subsequent hydrolysis and metabolic fate of glucosinolates. Proc Nutr Soc. 2007 Feb;66(1):69-81.
  • Mara Ventura, Miguel Melo, and Francisco Carrilho. Selenium and Thyroid Disease: From Pathophysiology to Treatment. Int J Endocrinol. 2017; 2017: 1297658.
  • Hsi-Mei Lai, Pei-Yin Lin. Thermal Effects on the Conversion of Isoflavones in Soybean. Chemistry, Texture, and Flavor of Soy Chapter 11, pp 171–187 ACS Symposium Series, Vol. 1059
  • Divi RL1, Chang HC, Doerge DR. Anti-thyroid isoflavones from soybean: isolation, characterization, and mechanisms of action. Biochem Pharmacol. 1997 Nov 15;54(10):1087-96.
  • Antithyroid agent. Available from https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/antithyroid-agent.

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending