ไขมันโลหิตสูง (High LDL cholesterol)

ไขมันโลหิตสูง (High LDL cholesterol)
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

ไขมันโลหิตสูง (High LDL cholesterol)

ไขมันโลหิตสูง

ถ้าใครยังไม่รู้จักไขมันชนิดต่างๆ สามารถไปอ่านได้ที่นี่ครับ คอเลสเตอรอล ไขมันดี HDL ไขมันไม่ดี LDL ไตรกลีเซอไรด์ คืออะไร ?


Overview

ไขมันโลหิตสูงคืออะไร ?

ระดับไขมันโลหิตที่ถือว่าสูงในแต่ละคนค่าไม่เท่ากัน เนื่องจากหากใครมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจสูงมากกว่า ก็จะต้องรีบควบคุมให้ต่ำกว่าคนอื่นๆ

  • คนทั่วไป  ระดับไขมันไม่ดี LDL cholesterol ไม่ควรสูงเกิน 190 mg/dL
  • กลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่
    • เบาหวาน (ความเสี่ยงสูงกว่าปัจจัยอื่น แนะนำ LDL cholesterol ไม่ควรเกิน 70-100 mg/dL )
    • ความดันโลหิตสูง
    • สูบบุหรี่
    • พ่อแม่พี่น้องเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
    • อายุมาก (ชายอายุมากกว่า 45 ปี, หญิงอายุมากกว่า 55 ปี)
    • ผู้ที่ไขมันดีต่ำ (HDL cholesterol น้อยกว่า 40 mg/dL)

ปัจจัยอื่นๆนอกจากเบาหวาน แม้จะความเสี่ยงต่ำกว่าเบาหวาน แต่ก็ควรควบคุมระดับ LDL cholesterolให้ต่ำกว่าคนทั่วไปเช่นกัน โดยทั่วไปหากมีหลายปัจจัย หรือ คำนวณแบบละเอียดแล้วพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดหัวใจเลือด เกิน 7.5 % ก็ควรควบคุมระดับไขมันไม่ดี LDL cholesterol ให้ไม่ควรเกิน 70-100 mg/dL
คลิกที่นี่ เพื่อคำนวณความเสี่ยงของฉัน )


ไขมันโลหิตสูง มีอาการอย่างไร ?

ไม่มีอาการบ่งชี้ชัดเจนครับ โดยมากมักทราบจากการตรวจเลือด


สาเหตุของไขมันโลหิตสูงมีอะไรบ้าง ?

  • กินไขมันมาก
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • การเผาผลาญไม่ดี

ทำไมถึงต้องกลัวไขมันสูง ?

เรากลัวไขมันสูง เนื่องจากงานวิจัยตั้งแต่สมัยก่อนพบว่า คนที่ระดับไขมันไม่ดี LDL สูง เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดต่างๆ (เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดสมองตีบ/แตก อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตเรื้อรัง ตาบอด) มากกว่าคนที่ระดับไขมันไม่ดี LDL ต่ำ และงานวิจัยยังพบอีกว่า คนที่กินยาลดระดับไขมันพวก statin สามารถลดความเสี่ยงการเกิดหลอดเลือดดังกล่าวได้ ดังนั้นจึงมีการสรุปว่า ระดับไขมัน LDL ที่สูงทำให้เสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนที่ไขมันปกติ

(ปัจจุบันมีการศึกษาเรื่องไขมันกันมากขึ้น เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม มีการแบ่งชนิดไขมันย่อยลงไปอีก ทำให้มีกระแสการต้านการกินยาลดไขมัน statin ว่า LDL สูงอย่างเดียวไม่ได้แปลว่าความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจสูง และ ยาลดไขมัน statin อาจไม่ได้ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจจากกลไกการลดไขมัน  ไว้จะมาอัพเดตให้ฟังครับว่าเป็นอย่างไร แต่ก่อนที่จะมีการวิจัยอะไรแน่ชัดก็ยึดตามแบบเดิมไปก่อนละกันนะครับ)


ไขมันโลหิตสูงมีผลเสียอย่างไร ?

ไขมันสูง สะสมตามผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นตีบ หรือ ผนังอ่อนแอ ทำให้เกิดเส้นเลือดตีบ หรือ แตก ตามอวัยวะต่างๆ เช่น สมองàหลอดเลือดสมองตีบ/แตก

  • หัวใจ  หลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ไต  ไตวายเรื้อรัง
  • ตา  ตาบอด

หายขาดได้มั้ย ถ้ากินยาแล้วต้องกินไปตลอดรึเปล่า ?

ไขมันโลหิตสูงสามารถควบคุมให้ดี และหายได้ ลดความเสี่ยงโรคแทรกซ้อนต่างๆที่ว่าไว้ด้านบน โดยการปรับพฤติกรรมตาม My Action ง่ายๆตามด้านล่างนี้เลยครับ นอกจากนี้ควรพบแพทย์ ตรวจรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ด้วยนะครับ (ในที่นี้ไม่รวมโรคบางโรคที่ปัจจุบันแนะนำให้กินไปตลอดเพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ผู้ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจเป็นต้น แต่ยังไงก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตาม My Action ก็เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นพื้นฐานอยู่แล้วครับ ยิ่งเคยเป็นมาแล้ว ยิ่งต้องทำตาม ไปดูกันเลยครับ)


My Action

Eating

  • เลี่ยงไขมันทรานส์ เช่น เนยเทียม ครีมเทียม เค้ก คุกกี้ มันฝรั่งทอด
  • เลี่ยงมัน ไขมันอิ่มตัว เช่น การผัด ทอดที่ใช้น้ำมัน น้ำมันหมู หรือ เนย
  • เน้นผัก ธัญพืช กากใยสูง
  • เน้นปลา โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึก อย่างน้อย 2 มื้อต่อสัปดาห์ เช่น แซลมอน
  • เลือกอาหารที่สดใหม่ ไม่ผ่านการแปรรูปหลายขั้นตอน เช่น เลือกผักสด แทนผักดอง กินข้าวกล้อง แทน ก๋วยเตี๋ยวหรือ มาม่า

Exercise

เดินเร็ว หรือ วิ่งอย่างน้อย 45 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 5 วัน เนื่องจากร่างกายเริ่มนำไขมันมาใช้หลังจากออกกำลังกาย 40 นาที

(อาจออกกำลังกายแอโรบิคอื่นแทนได้ เช่น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค)


Sleep

นอนวันละ 6-8 ชั่วโมง โดยควรนอนก่อน 5 ทุ่ม ปิดไฟให้มืดสนิท


Relax

นั่งสมาธิ หรือ โยคะ อย่างน้อย 5 นาที ต่อวันครับ


ลองตั้งใจทำตามนะครับ สักเดือนหนึ่งก่อนก็ได้ครับ แล้วลองสังเกตดู เชื่อว่าร่างกายเปลี่ยนแปลงทางดีขึ้นแน่นอนครับ ขอให้แก๊งรักสุขภาพของเราสุขภาพดียิ่งๆขึ้นไปนะครับ :))



สามารถอ่านเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับไขมันต่อได้ที่นี่ครับ


References:

2016 ACC Expert Consensus Decision Pathway on the Role of Non-Statin Therapies for LDL-Cholesterol Lowering in the Management of Atherosclerotic Cardiovascular Disease Risk

2013 ACC/AHA Guideline on the Treatment of Blood Cholesterol to Reduce Atherosclerotic Cardiovascular Risk in Adults


 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending