ปวดหัว ปวดศีรษะ ไมเกรน

ปวดหัว ปวดศีรษะ ไมเกรน
0.0
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

ปวดหัว ปวดศีรษะ ไมเกรน
(Headache, Migraine headache)

ปวดหัว

Overview

อาการ ปวดหัวไมเกรน แตกต่างจากปวดหัวทั่วไปอย่างไร ?

การปวดหัวที่มากหรือ นานกว่าปวดหัวทั่วไป ส่วนใหญ่เกิน 3 ชั่วโมง หรือ อาจเป็นนานถึง 3 วั

  • ปวดหัวข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้
  • มักปวดตุบๆตามชีพจร
  • ปวดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว
  • ถ้าเป็นมากอาจมีคลื่นไส้ อาเจียน
  • บางคนอาจมีอาการเห็นแสง หรือ ได้ยินเสียงนำมาก่อน การปวดหัว

สาเหตุของการปวดหัวไมเกรน

ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากหลอดเลือดตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากกว่าปกติ มีการหดขยายของหลอดเลือด ทำให้เกิดอาการปวดหัวขึ้น


สิ่งกระตุ้นการปวดหัวไมเกรน มีอะไรบ้าง ?

  • ความเครียด
  • อากาศร้อน แสงแดด
  • การอดนอน
  • การกินอาหารบางชนิด เช่น ชา กาแฟ ไวน์แดง ช็อคโกแลต
  • การมีรอบเดือนของผู้หญิง หรือ ยาคุม ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง

การรักษาปวดหัวไมเกรน

ส่วนใหญ่ปวดหัวไมเกรน มักมีสิ่งกระตุ้น การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นดังกล่าว รวมถึงทำตาม My Action สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้

หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์นะครับ โดยหากพบว่าเป็นการปวดหัวไมเกรน ยาที่อาจได้รับมาจากแพทย์ มีดังนี้ครับ

  • ยาแก้ปวดพาราเซตามอล
    (หากมีอาการปวดมากอาจใช้ไม่ได้ผล)
  • ยาแก้ปวดแก้อักเสบ (NSAIDs)
    (เป็นยากลุ่มแรกที่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยไมเกรน)
    เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen), ไดโคลฟีแนค (Diclofenac), นาพร็อกเซนโซเดียม (Naproxen sodium)
    ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์ อาจทำให้เสี่ยงต่อเลือดออกในกระเพาะ
  • ยาแก้ปวดไมเกรนกลุ่มทริปแทนส์ (Triptans)
    (ราคาแพง ไม่ค่อยมีตามร้านขายยาทั่วไป ใช้ในกรณีใช้ยากลุ่มแรกไม่ได้ผล)
    เช่น ซูมาทริปแทน Sumatriptan
  • ยาแก้ปวดไมเกรนกลุ่มเออร์กอต (Ergot alkaloids)
    (ใช้ในกรณีใช้ยากลุ่มแรกไม่ได้ผล อาการเป็นไม่บ่อย และไม่มียากลุ่ม Triptans)
    เช่น คาเฟอก็อต Cafegot (Caffeine ผสม Ergotamine)
    ข้อควรระวัง ระวังในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคไต หรือความดันโลหิตสูง
    (ยากลุ่มนี้ก็คือตัวที่เคยมีข่าวว่าทำให้เกิดหลอดเลือดหดตัวจนต้องตัดแขนขาครับ เป็นผลข้างเคียงที่พบน้อยมาก แต่ถ้าเป็นก็อันตรายครับ ดังนั้นควรรับประทานตามแพทย์แนะนำ และ เมื่อจำเป็นจริงๆเท่านั้นครับ)
  • ยาป้องกันปวดศีรษะไมเกรน
    (ใช้กินต่อเนื่องแม้ยังไม่มีอาการ มักใช้ในผู้ที่ปวดศีรษะไมเกรนมาก จนไม่สามารถทำงานได้ประมาณ 2 ครั้งต่อเดือนขึ้นไป) ยากลุ่มที่ใช้เช่น ยาโรคซึมเศร้า ยาลดความดัน ยากันชัก

 My Action

  • การนอนพักผ่อนเพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

  • ลดความเครียด

    • โยคะ
    • นั่งสมาธิ
    • ฝังเข็มศาสตร์จีน พบว่าเป็นแพทย์ทางเลือกที่ได้ผลดี และปลอดภัย โดยไม่ต้องเสี่ยงผลข้างเคียงจากยา องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การยอมรับ พบว่าสามารถระงับอาการ ความถี่ และความรุนแรงของอาการปวดศีรษะลงได้
  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น อากาศร้อน แสงแดด ชา กาแฟ ไวน์แดง ช็อคโกแลต

  • งดบุหรี่ เหล้า


ผมเข้าใจเลยครับ ว่าปวดไมเกรนถ้าเป็นเยอะๆ มันทรมานจริงๆ ลองปรับตัวเองตามนี้ดูนะครับ ถ้าไม่ดีขึ้นยังไงอย่าลืมไปหาคุณหมอก่อนนะครับ ขอให้ทุกคนปลอดไมเกรนครับ ใครใช้วิธีไหนได้ผลมาเล่าให้ผมฟังด้วยนะครับ :)


 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending