อบเชย (Cinnamon)

อบเชย (Cinnamon)
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

อบเชย (Cinnamon)

อบเชย ดีอย่างไร


Overview

อบเชย คือเปลือกของไม้ชนิดหนึ่ง นำมาใช้เป็นเครื่องเทศ และ ยาสมุนไพร มักนำมาใช้การช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยในอาการปวดท้อง จุกแน่น ขับลม ท้องเสีย กระตุ้นความอยากอาหาร ปวดท้องประจำเดือน หวัด ไข้หวัดใหญ่ การติดเชื้อแบคทีเรีย และ พยาธิต่างๆ


Benefits

อบเชยช่วยอย่างไร ?

  • น้ำมันในอบเชย ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับลม และกระตุ้นความอยากอาหาร
  • ในอบเชยยังมีสารที่ช่วยลดการดื้อของอินซูลิน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และ ช่วยกระตุ้นให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
  • สารแทนนิน (Tannins) ในอบเชยช่วยในการรักษาแผล และ ช่วยป้องกันท้องเสีย
  • สารคูมาริน (Coumarin) พบในอบเชยเป็นพิษต่อตับ โดยสารนี้จะพบน้อยที่สุดในอบเชยเทศ (Ceylon cinnamon) ดังนั้นหากต้องใช้ขนาดสูงได้จึงควรเลือกอบเชยชนิดนี้

อบเชย & โรคต่างๆ

  • เบาหวาน พบว่าอบเชยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในการย่อยแป้งหลายชนิด ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่พุ่งสูงอย่างรวดเร็วหลังกินอาหาร นอกจากนี้ยังมีสารที่คล้ายอินซูลิน ซึ่งช่วยให้เซลล์นำน้ำตาลไปใช้ได้ดีขึ้น งานวิจัยในคนเบื้องต้นพบว่าอบเชยอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • ภูมิแพ้ พบว่าผู้ที่กินสารสกัดอบเชย ร่วมกับ ผลไม้สกัดอื่นๆจำพวกเชอร์รี่ ช่วยลดอาการภูมิแพ้ในผู้ที่เป็นภูมิแพ้ตามฤดูกาลได้
  • ลำไส้แปรปรวน (IBS) พบว่าการกินอบเชย ร่วมกับ บิลเบอร์รี่ และสมุนไพรอื่นๆ เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ช่วยลดอาการปวดท้อง จุกแน่น ในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนได้
  • ปวดท้อง จุกเสียด แน่นท้อง
  • ท้องเสีย
  • กระตุ้นความอยากอาหาร
  • หวัด ไข้หวัดใหญ่
  • ปวดท้องประจำเดือน

อบเชย


Safety

การกินอบเชยค่อนข้างปลอดภัยเมื่อกินขนาดที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามไม่ควรกินอบเชยในรูปแบบน้ำมัน เนื่องจากอาจทำให้ระคายเคืองผิวหนัง หรือเยื่อบุต่างๆ รวมถึงเยื่อบุกระเพาะ ลำไส้ได้

ควรใช้อบเชยอย่างระมัดระวังในภาวะต่างๆต่อไปนี้

  • เบาหวาน เนื่องจากอบเชยอาจลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รับประทานยาเบาหวานอยู่แล้ว อาจทำให้ระดับน้ำตาลต่ำเกินไปได้ ดังนั้นควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะ และสังเกตอาการน้ำตาลต่ำ เช่น หิวข้าว ใจสั่น ใจหวิว ให้รีบรับประทานอาหาร หรือน้ำตาล และพบแพทย์เพื่อปรับยาให้เหมาะสม
  • เข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากอบเชยอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง ซึ่งอาจมีผลในขณะผ่าตัด จึงควรงดอบเชยก่อนทำการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

How to Choose / Use

  • สำหรับ เบาหวาน ใช้อบเชย 1-6 g ต่อวัน โดยรับประทานกับอาหารมื้อที่มีคาร์โบไฮเดรต
  • ควรเลือกอบเชยชนิด อบเชยเทศ (Ceylon cinnamon) เนื่องจากแม้อบเชยมีสารที่มีประโยชน์มากมาย อย่างไรก็ตามอบเชยยังมีสารคูมาริน (Coumarin) ซึ่งอาจเป็นพิษต่อตับหากกินปริมาณมากเกินไป โดยสารนี้จะพบน้อยที่สุดในอบเชยเทศ ดังนั้นหากเลือกได้จึงควรเลือกอบเชยชนิดนี้

 



References:

  • Mohamed Sham Shihabudeen H, Hansi Priscilla D, Thirumurugan. K Cinnamon extract inhibits α-glucosidase activity and dampens postprandial glucose excursion in diabetic rats. Nutr Metab (Lond). (2011)
  • Broadhurst CL, Polansky MM, Anderson RA. Insulin-like biological activity of culinary and medicinal plant aqueous extracts in vitro. J Agric Food Chem. (2000)
  • Kirkham S,et al. The potential of cinnamon to reduce blood glucose levels in patients with type 2 diabetes and insulin resistance . Diabetes Obes Metab. (2009)
  • Khan A,et al Cinnamon improves glucose and lipids of people with type 2 diabetes . Diabetes Care. (2003)
  • Qin B, Panickar KS, Anderson RA. Cinnamon: potential role in the prevention of insulin resistance, metabolic syndrome, and type 2 diabetes. J Diabetes Sci Technol. (2010)

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending