Flaxseed (เมล็ดแฟลกซ์) : คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ? เหมาะกับใครบ้าง ?

Flaxseed (เมล็ดแฟลกซ์) : คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ? เหมาะกับใครบ้าง ?
0.0
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed), เมล็ดลินิน
(ในที่นี้เราจะมาคุยถึงเมล็ดแฟลกซ์ ซึ่งเป็นคนละส่วนกับ น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ หรือ Flaxseed oil นะฮะ)

เมล็ดแฟลกซ์


Overview

เมล็ดแฟลกซ์มาจากพืชชนิดหนึ่ง ชื่อ Linum usitatissimum หรือต้นลินิน ดังนั้นเมล็ดแฟลกซ์ ก็คือ เมล็ดลินินนั่นเอง


Benefits

เมล็ดแฟลกซ์ อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร และ กรดไขมันโอเมก้า3 เส้นใยอาหารที่พบในเมล็ดแฟลกซ์นี้พบมากบริเวณเยื่อหุ้มเมล็ด การกินก่อนอาหารมักทำให้รู้สึกหิวน้อยลง จึงอาจกินอาหารได้ลดลง นักวิจัยบางกลุ่มเชื่อว่า เส้นใยนี้จะเกาะกับไขมันคอเลสเตอรอลในอาหาร ทำให้เราดูดซึมได้ลดลง นอกจากนี้เมล็ดแฟลกซ์ยังอาจทำให้เ่ลือดแข็งตัวช้าลง จึงอาจมีผลช่วยเรื่องลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดต่างๆ

 

นอกจากนี้ได้มีการนำมาวิจัยเกี่ยวกับการต้านมะเร็งเต้านม เนื่องจากเมล็ดแฟลกซ์เมื่อถูกย่อยสลายในร่างกายจะกลายเป็นสารลิกแนน (Lignans) ซึ่งเป็นสารคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ซึ่งจะไปแย่งจับกับตัวรับของเอสโตรเจน ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนออกฤทธิ์ลดลง อาจช่วยชะลอการเจริญของมะเร็งเต้านมบางชนิดที่ตอบสนองต่อเอสโตรเจนได้


Flaxseed & โรคต่างๆ

เมล็ดแฟลกซ์อาจช่วยในโรคต่างๆต่อไปนี้

·      เบาหวาน
งานวิจัยพบว่าการกินผลิตภัณฑ์จากเมล็ดแฟลกซ์ชนิดหนึ่ง วันละ 3 เวลาเป็นเวลา 3 เดือน พบว่าระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ลดลง

 

·      ไขมันโลหิตสูง
พบว่าเมล็ดแฟลกซ์หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะใช้การบด การเอาไขมันออก (defatted) ขนมปังเมล็ดแฟลกซ์ ช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลรวม และไขมันไม่ดีได้ในผู้ที่ไขมันปกติ รวมถึงชาย และหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนที่มีไขมันสูง แต่ไม่ค่อยมีผลกับไขมันดี HDL คอเลสเตอรอล และ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ อย่างไรก็ตาม พบว่าเมล็ดแฟลกซ์ที่ผ่านการนำไขมันออก (defatted flaxseed) คือมีกรดอัลฟาไลโนเลนิก (alpha linolenic acid) ลดลงจากปกติ อาจทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้

 

·      โรคแพ้ภูมิตัวเองเอสแอลอี (SLE)

การกินเมล็ดแฟลกซ์อาจช่วยการทำงานของไตในผู้ป่วย SLE ให้ดีขึ้นได้

 


เมล็ดแฟลกซ์


Safety

  • เมล็ดแฟลกซ์ค่อนข้างปลอดภัย การกินเมล็ดแฟลกซ์อาจทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวมากขึ้น บางคนอาจมีอาการท้องอืด ปวดท้อง ท้องผูก ท้องเสีย คลื่นไส้ได้
  • มีบางคนกังวลว่าการกินเมล็ดแฟลกซ์ปริมาณมากๆอาจทำให้เกิดการอุดตันในลำไส้ เนื่องจากมีไฟเบอร์มาก ควรดื่มน้ำมากๆเพื่อป้องกันภาวะดังกล่าว
  • มีการผลิตเมล็ดแฟลกซ์ที่เอาไขมันออกบางส่วน ซึ่งเมล็ดแฟลกซ์ชนิดนี้มีปริมาณกรดไขมันอัลฟาไลโนเลนิกน้อยกว่าเมล็ดแฟลกซ์ทั่วไป ผู้ชายบางคนเลือกเมล็ดแฟลกซ์ชนิดนี้เนื่องจากกังวลเรื่องกรดไขมันอัลฟาไลโนเลนิกที่อาจสัมพันธ์กับเรื่องมะเร็งต่อมลูกหมาก อย่างไรก็ตาม พบว่ากรดไขมันอัลฟาไลโนเลนิกที่สัมพันธ์กับมะเร็งดังกล่าวนั้นเฉพาะที่มาจากนมและเนื้อสัตว์ ส่วนกรดไขมันอัลฟาไลโนเลนิกที่มาจากพืชเช่นเมล็ดแฟลกซ์นั้นไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ดังกล่าว
  • นอกจากนี้เมล็ดแฟลกซ์ที่เอาไขมันออกบางส่วนอาจมีส่วนทำให้ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้
  • เมล็ดแฟลกซ์ที่ดิบ หรือ ยังไม่สุก (unripe) นั้นอาจเป็นพิษ ควรหลีกเลี่ยง

ใครบ้าง ที่ควรระมัดระวังในการกินเมล็ดแฟลกซ์ ?

อาจต้องระวังการกินเมล็ดแฟลกซ์ในภาวะต่างๆต่อไปนี้

·      แนะนำหลีกเลี่ยงการกินเมล็ดแฟลกซ์ดิบในผู้ที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากอาจออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานชัดเจนใดๆก็ตาม

·      ผู้ที่มีโรคเลือดหยุดยาก หรือ รับประทานยาละลายลิ่มเลือด เช่น แอสไพริน (Aspirin), วาฟาริน (Warfarin) เนื่องจากเมล็ดแฟลกซ์อาจทำให้การแข็งตัวของเลือดช้าลง อาจทำให้เลือดหยุดยากมากขึ้นได้

·      เบาหวาน เนื่องจากเมล็ดแฟลกซ์อาจทำให้ระดับน้ำตาลต่ำเกินไปได้หากทานร่วมกับยาเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์ และตรวจระดับน้ำตาลสม่ำเสมอ

·      ทางเดินอาหาร หรือ ลำไส้อุดตัน เนื่องจากเส้นใยอาหารที่มีมากในเมล็ดแฟลกซ์อาจทำให้ภาวะดังกล่าวแย่ลงได้

·      ภาวะที่ไวต่อฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม โพรงมดลูก รังไข่ ช็อคโกแลตซิสต์ เนื่องจากเมล็ดแฟลกซ์อาจทำงานคล้ายเอสโตรเจน ถึงแม้ว่างานวิจัยใหม่ๆจะออกมาว่าน่าจะเป็นการต้านฤทธิ์เอสโตรเจนมากกว่าเสริมฤทธิ์ จึงควรหลีกเลี่ยงการกินปริมาณมากๆไปก่อนในขณะที่ยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจน

·      ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง เมล็ดแฟลกซ์ที่เอาไขมันออกบางส่วนอาจมีส่วนทำให้ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้

·      ความดันโลหิตต่ำ หรือ ความดันโลหิตสูงที่รับประทานยาลดความดัน เนื่องจาก เมล็ดแฟลกซ์อาจลดความดันโลหิต ในทางทฤษฎีถ้าใช้ร่วมกับยาลดความดันอาจทำให้ความดันต่ำเกินไปได้ จึงควรวัดความดันสม่ำเสมอ


How to Choose / Use

ยังไม่มีขนาดใช้ที่ชัดเจน ขนาดที่มีใช้ในงานวิจัย มีดังนี้

·      เบาหวาน สารสกัดเมล็ดแฟลกซ์ลิกแนน 600 mg วันละ 3 เวลา (คิดเป็นสารลิกแนน 320 mg) ใช้เป็นเวลา 3 เดือน

·      อาการหมดประจำเดือนที่เป็นไม่มากใช้เมล็ดแฟลกซ์บด 40 กรัม หรือ ใส่ในขนมปังรับประทานทุกวัน

·      สำหรับผู้ที่เป็นโรค SLE ที่มีปัญหาเรื่องไต รับประทานเมล็ดแฟลกซ์บดวันละ 15 กรัม วันละ 2 ครั้ง อาจรับประทานกับซีเรียล หรือ น้ำผลไม้


 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending