ไนอาซิน (วิตามินบี 3) : ประโยชน์ และ ข้อควรระวังในการใช้

ไนอาซิน (วิตามินบี 3) : ประโยชน์ และ ข้อควรระวังในการใช้
0.0
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

วิตามินบี 3 / ไนอาซิน
vitamin B3 / niacin / nicotinic acid

วิตามินบี3


Overview

วิตามินบี 3 เป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ ร่างกายเราสามารถสร้างได้เองจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน ซึ่งพบในอาหารที่มีโปรตีนนั่นเอง


วิตามินบี 3 พบได้ในอะไรบ้าง ?

  • ยีสต์
  • เนื้อสัตว์ ปลา
  • นม ไข่
  • ผักใบเขียว
  • ธัญพืชต่างๆ

อาการของการขาดวิตามินบี3 มีอะไรบ้าง ?

  • แผลในปาก หรือ ผิวหนังอักเสบรอบๆปาก
  • ผิวหนังอักเสบ ผื่น
  • อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ท้องเสีย
  • ซึมเศร้า สับสน นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ความจำเสื่อม

ใครบ้างที่เสี่ยงขาดวิตามินบี 3 ?

  • ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • กินอาหารไม่เพียงพอ ไม่ค่อยกินอาหารพวกโปรตีน
  • เป็นโรคมะเร็งบางชนิด

Benefits

ไนอาซิน และ โรคต่างๆ

ไนอาซิน อาจช่วยในภาวะต่างๆต่อไปนี้

  • ภาวะขาดไนอาซิน
    เช่น คนที่มีอาการผิวหนังอักเสบ ผื่นแพ้ ผิวลอก แตกและเลือดออก โดยเฉพาะบริเวณที่โดนแดดมักเป็นก่อน ร่วมกับอาการแผลในปาก ท้องเสีย ความจำเสื่อม ซึ่งเรียกว่ากลุ่มอาการ pellagra ที่เกิดจากภาวะขาดวิตามินบี 3 การให้ไนอาซินเสริมสามารถทำให้ภาวะเหล่านี้ดีขึ้นได้
  • คอเลสเตอรอลสูง
    พบว่าไนอาซินอาจช่วยลดไขมันไม่ดี LDL cholesteral และ เพิ่มไขมันดี HDL cholesteral ได้ แต่อย่างไรก็ตามอาจทำให้ค่าโฮโมซิสเทอีน (Homocysteine) ที่อาจบ่งถึงความเสี่ยงหลอดเลือดต่างๆเพิ่มขึ้นได้

Safety

  • โดยทั่วไปการกินวิตามินบี3 ค่อนข้างปลอดภัย
  • อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยในช่วงแรก เช่น ร้อนวูบวาบตามผิวหนัง ผิวแห้ง แดง ตามแขนขา และลำตัว ปวดศีรษะ ปวดท้อง อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักหายไปเองในเวลา 2-3 สัปดาห์ และ แอลกอฮอล์อาจทำให้อาการข้างเคียงเหล่านี้เป็นมากขึ้นได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแอลกอฮอล์ปริมาณมากขณะรับประทานวิตามินบี3 เสริม
  • ไนอาซินขนาดสูง (เช่น เกิน 3 กรัมขึ้นไป) อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ แผลในกระเพาะอาหาร ระดับกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น ระดับน้ำตาลสูงผิดปกติ การมองเห็นผิดปกติ หรือ หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
  • การรับประทานไนอาซินต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวานได้
  • ไม่ควรทานไนอาซินเดี่ยวๆโดยไม่มีวิตามินบีรวมตัวอื่นๆร่วม เนื่องจากอาจทำให้ค่าโฮโมซิสเทอีนที่อาจสัมพันธ์กับความเสี่ยงหลอดเลือดต่างๆเพิ่มขึ้นได้

ใคร ควรระมัดระวังในการกินไนอาซินเสริม ?

  • ผู้ที่มีโรคต่อไปนี้ ควรระมัดระวังในการรับประทานไนอาซิน
    • โรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
    • ภูมิแพ้ เนื่องจากอาจทำให้สารก่อภูมิแพ้หลั่งมากขึ้นได้
    • เบาหวาน เนื่องจากอาจทำให้ระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้นได้
    • โรคถุงน้ำดี ไนอาซินอาจทำให้โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดีแย่ลงได้
    • เก๊าท์ ไนอาซินขนาดสูงอาจทำให้เสี่ยงเป็นเก๊าท์มากขึ้นได้
    • โรคไต เนื่องจากคนที่เป็นโรคไตการขับส่วนเกินออกอาจทำได้ไม่ดี ทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย ก่อให้เกิดอันตรายได้
    • โรคตับ ไนอาซินอาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้ ไม่ควรใช้ขนาดสูงหากมีโรคตับอยู่
    • แผลในกระเพาะอาหาร อาจทำให้แผลแย่ลงได้ ไม่ควรใช้ขนาดสูงหากมีแผลในกระเพาะอาหารอยู่
    • ความดันต่ำ เนื่องจากไนอาซินอาจทำให้ความดันต่ำลงได้
    • ไทรอยด์ต่ำ เนื่องจาก ไนอาซินอาจทำให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดต่ำลงได้
    • ไขมันเกาะตามเส้นเอ็น (Xanthomas) เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อที่บริเวณที่มีไขมันเกาะตามเส้นเอ็นเหล่านี้ได้

ยาอะไร ที่ต้องระมัดระวังในการกินร่วมกัน ?

  • ผู้ที่รับประทานยาหรือสารต่อไปนี้ ควรระมัดระวังในการใช้ไนอาซิน
    • แอลกอฮอล์ เนื่องจากไนอาซินอาจทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบและคันตามผิวหนัง การกินไนอาซินร่วมด้วยอาจทำให้อาการเป็นมากขึ้น และยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำลายตับอีกด้วย
    • ยาโรคที่ลดกรดยูริคในโรคเก๊าท์ Allopurinol ไนอาซินขนาดสูงอาจทำให้เก๊าท์เป็นมากขึ้น และอาจลดประสิทธิภาพของยาดังกล่าว
    • ยาลดไขมันกลุ่ม statin เช่น simvastatin, atorvastatin (Lipitor), rosuvastatin (Crestor) เนื่องจากไนอาซินอาจมีผลต่อการสลายตัวของกล้ามเนื้อเช่นกัน การกินไนอาซินร่วมกับยาลดไขมันกลุ่มนี้อาจทำให้ความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อสลายตัวเพิ่มขึ้นได้
    • ยาลดไขมันกลุ่ม resins เนื่องจากอาจทำให้ร่างกายดูดซึมไนอาซินได้ลดลง ควรรับประทานห่างจากกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง

How to Choose / Use

วิธีใช้วิตามินบี 3

  • ภาวะขาดวิตามินบี 3
    ใช้ขนาด 300-1000 mg ต่อวัน แบ่งทาน 2-3 มื้อ
  • คอเลสเตอรอลสูง
    ผลของวิตามินบี3 ในการลดไขมันจะมากขึ้นตามขนาดที่สูงขึ้น มีการใช้เริ่มตั้งแต่ 50 mg เป็นต้นไป โดยพบว่าที่ช่วยเพิ่มไขมันดี HDL และ ลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ อยู่ที่ประมาณ 1200-1500 mg ต่อวัน ส่วนขนาดที่พบว่าลดไขมันไม่ดี LDL คอเลสเตอรอล อยู่ที่ประมาณ 2000-3000 mg ต่อวัน
  • สำหรับคนทั่วไป ขนาดที่แนะนำต่อวัน เป็นดังนี้
อายุ ปริมาณวิตามินบี3 ที่แนะนำต่อวัน (RDAs: Recommended Dietary Allowances)
เด็กแรกเกิด 0-6 เดือน 2 mg
7-12 เดือน 4 mg
1-3 ปี 6 mg
4-8 ปี 8 mg
9-13 ปี 12 mg
14 ปีขึ้นไป (ชาย) 16 mg
14 ปีขึ้นไป (หญิง) 14 mg
ตั้งครรภ์ 18 mg
ให้นมบุตร 17 mg

 

**ควรปรึกษาแพทย์หากรับระทานวิตามินบี 3 เกินวันละ 100 mg ขึ้นไป**



 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending