ไทอามีน, วิตามินบี 1 (Thiamine) : มีประโยชน์อย่างไร ? ใครเสี่ยงขาดบ้าง ?

ไทอามีน, วิตามินบี 1 (Thiamine) : มีประโยชน์อย่างไร ? ใครเสี่ยงขาดบ้าง ?
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

วิตามินบี 1 / ไทอามีน
vitamin B1 / thiamineวิตามินบี1

 


Overview

  • วิตามินบี 1 หรืออีกชื่อหนึ่ง คือ ไทอามีน พบมากที่สุดในยีสต์ นอกจากนี้พบในอาหารเช่น ถั่ว ธัญพืช เนื้อสัตว์
  • สมัยก่อนคนไทยบริเวณภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือมีการขาดวิตามินบี1มาก เนื่องจากรับประทานอาหารที่มีสารต้านวิตามินบี1 เช่น ปลาร้า เคี้ยวหมากพลู เคี้ยวใบชา เป็นต้น

ขาดวิตามินบี 1 มีอาการอย่างไร ?

  • เหน็บชา หรือ ปวดแสบร้อนบริเวณมือและเท้า
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อน่อง
  • มีปัญหาเรื่องการมองเห็น ตาเหล่
  • ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ
  • ท้องผูก ท้องอืด ปวดท้อง เบื่ออาหาร
  • อาการทางระบบประสาท เช่น ขี้ลืม สับสน
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า หงุดหงิด ตื่นตกใจง่าย
  • หากขาดมาก อาจมีอาการหัวใจโต หัวใจล้มเหลว

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการขาดไทอามีน ?

  • ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
    คนที่ดื่มเหล้าเป็นประจำมักขาดวิตามินบี1ด้วยหลายกลไก เช่น ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ มักกินอาหารที่มีวิตามินบี1ไม่เพียงพอ, แอลกอฮอล์ลดการเปลี่ยนวิตามินบี1ให้อยู่ในรูปพร้อมใช้งาน, แอลกอฮอล์ยับยั้งการขนส่งวิตามินบี1ที่ผนังลำไส้, แอลกอฮอล์ลดการสะสมของวิตามินในตับ เป็นต้น
  • ดื่มชา กาแฟเป็นประจำ
    เนื่องจากชา กาแฟ มีสารต้านวิตามินบี1 (anti-thiamine factor) เช่น สารโพลีฟีนอล สารแทนนิน โดยสามารถเปลี่ยนวิตามินบี1ไปเป็นรูปที่ใช้งานไม่ได้ ซึ่งสารนี้ไม่ถูกทำลายโดยความร้อนปกติ
  • เคี้ยวหมากพลู (betel nut)
    เนื่องจากหมากชนิดนี้มีสารต้านวิตามินบี1 เช่นกัน
  • กินผลไม้อื่นๆที่มีสารต้านวิตามินบี1 (สารโพลีฟีนอล) เป็นประจำ
    เช่น บลูเบอร์รี่ หัวบีทรูทแดง เรดเคอร์แรนท์ กะหล่ำแดง
  • กินปลาดิบ หรือ ของดิบ ของดอง เช่น ปลาร้าบ่อยๆ
    เนื่องจากปลาบางชนิดมีเอนไซม์ Thiaminase เช่น ปลาทูน่าบางชนิด ปลากระพง หอยแครง นอกจากนี้ยังพบได้มากในปลาน้ำจืดหลายชนิด ซึ่งเอนไซม์นี้สามารถทำลายวิตามินบี 1 ที่อยู่ในอาหารที่กินร่วมกันได้ อย่างไรก็ตาม เอนไซม์ย่อยวิตามินบี 1 นี้สามารถถูกทำลายโดยความร้อน ดังนั้นควรปรุงอาหารเหล่านี้ให้สุกก่อนรับประทาน รวมถึงไม่ควรเก็บอาหารดิบร่วมกับอาหารอื่นๆก่อนที่จะปรุงให้สุก
  • กินอาหารที่มีแป้ง และน้ำตาลที่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวขาว หรือ มันสำปะหลังเป็นหลัก
  • ใช้ยาคุมกำเนิด
  • ใช้ยาต่างๆเหล่านี้เป็นประจำ
    เช่น ยาฆ่าเชื้อ ยาขับปัสสาวะ ยากลุ่มซัลฟา ยาหอบหืดที่ชื่อ Theophylline เป็นต้น

อาหารอะไรบ้าง ที่มีสารต้านวิตามินบี1 หรือ เอนไซม์ Thiaminase ?

สารต้านวิตามินบี1Source: http://www.who.int/nutrition/publications/en/thiamine_in_emergencies_eng.pdf

Benefits

วิตามินบี 1 หรือ ไทอามีน มีประโยชน์อย่างไร ?

วิตามินบี 1 ช่วยในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตมาใช้เป็นพลังงาน และมีส่วนสำคัญในเมตาบอลิซึมของเซลล์ การทำงานของระบบประสาท และการผลิตฮอร์โมนต่างๆ


วิตามินบี 1 และ โรคต่างๆ

วิตามินบี 1 ช่วยในภาวะต่างๆต่อไปนี้

  • ภาวะขาดวิตามินบี 1 ซึ่งทำให้เกิดอาการเหน็บชา อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการทางระบบประสาท และอารมณ์ที่กล่าวไปข้างต้น
  • อาการทางสมองที่เกิดจากการขาดวิตามินบี 1 (Wernicke-Korsakoff syndrome) มีอาการสับสน พูดไม่รู้เรื่อง ซึ่งมักพบในผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ พบว่าผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำมีโอกาสขาดวิตามินบี 1 ถึง 30-80% การให้วิตามินบี 1 ลดโอกาสการเกิดอาการดังกล่าว และลดอาการนี้ที่เกิดขึ้นเมื่อถอนเหล้า

Safety

การกินวิตามินบี 1 ปลอดภัยไหม ?

โดยทั่วไปการกินวิตามินบี 1 ในขนาดปกติ ค่อนข้างปลอดภัย ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เช่น อาการแพ้ หรือ ผื่นพบค่อนข้างน้อย


How to Choose / Use

จะเลือกใช้วิตามินบี 1 อย่างไร ?

  • สำหรับการขาดเล็กน้อย เช่นอาการเหน็บชา ทานวิตามินบี1 วันละ 10 mg ในสัปดาห์แรก หลังจากนั้นใช้ขนาด 3-5 mg เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือนครึ่ง
  • สำหรับการป้องกันในคนที่มีความเสี่ยงขาด เช่น กินไม่เพียงพอ การดูดซึมผิดปกติ ดื่มแอลกอฮอล์ประจำ หรือ กินอาหารต้านวิตามินบี 1 เป็นประจำ การกินวิตามินบี1 วันละประมาณ 1 mg เพียงพอสำหรับการป้องกันการขาดวิตามินบี1
ปริมาณวิตามินบี1 ที่แนะนำต่อวัน (RDAs: Recommended Dietary Allowances)
อายุ ปริมาณวิตามินบี 1 (mg)
เด็ก:
น้อยกว่า 1 ปี 0.3
1-3 ปี 0.5
4-6 ปี 0.7
7-9 ปี 0.9
วัยรุ่นชาย :
10-12 ปี 1.0
13-15 ปี 1.2
16-19 ปี 1.2
วัยรุ่นหญิง :
10-12 ปี 0.9
13-15 ปี 1.0
16-19 ปี 0.9
ผู้ใหญ่เพศชาย 1.2
ผู้ใหญ่เพศหญิง 0.9
ตั้งครรภ์ + เพิ่ม 0.1
ให้นมบุตร (ช่วง 6 เดือนแรก) + เพิ่ม 0.2
คนทั่วไป (ค่าเฉลี่ย) 0.9

Source: WHO (1974)


สรุป

เริ่มมีอาการขาดวิตามินบี1 ควรรับประทานอาหารอย่างไร ?

  1. ทานอาหารที่มีวิตามินบี1 มากขึ้น เช่น กินข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือแทนข้าวขาว กินถั่วต่างๆ ธัญพืชไม่ขัดสีเพิ่มขึ้น
  2. หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ปลาร้า ปลาดิบ เคี้ยวหมากพลู บลูเบอร์รี่ บีทรูทแดง
  3. หากทานอาหารที่มีเอนไซม์ Thiaminase เช่น ปลาน้ำจืด ปลาทูน่าบางชนิด หอยแครง ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน
  4. ทานอาหารที่มีวิตามินซี พบว่าวิตามินซีช่วยป้องกันไม่ให้สารต้านวิตามินบี1 บางตัวออกฤทธิ์ เช่น แทนนินในใบชา
  5. ควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการมาก หรือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วไม่ดีขึ้น


Reference:

http://www.who.int/nutrition/publications/en/thiamine_in_emergencies_eng.pdf

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending