ใบแปะก๊วย (Ginkgo leaf)

ใบแปะก๊วย (Ginkgo leaf)
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

ใบแปะก๊วย (Ginkgo leaf)

ใบแปะก๊วย


Overview

แปะก๊วย เป็นพืชที่มีมานานเป็นพันปี จึงมีการนำใบแปะก๊วยมาใช้รักษาอาการต่างๆจำนวนมาก ส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับเพิ่มการไหลเวียนของเลือด

ใบแปะก๊วยมักใช้สำหรับโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ หรือ โรคที่เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงในผู้สูงอายุ เช่น ความจำเสื่อม ปวดศีรษะ มีเสียงในหู เวียนศีรษะ บ้านหมุน อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า ปัญหาเกี่ยวกัยการได้ยิน

นอกจากนี้ยังมีการใช้ในโรคที่เกิดจากเลือดไหลเวียนไม่ดีในร่างกายส่วนอื่นๆ เช่น อาการปวดขาเมื่อเดินนานๆที่เกิดจากหลอดเลือดแดงอุดตัน โรคที่หลอดเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายไม่ดี ทำให้นิ้วม่วงเมื่อเจออากาศเย็น (Raynaud’s syndrome)

อาการอื่นๆที่มีการใช้ใบแปะก๊วย เช่น

  • ช่วยเรื่องสมรรถภาพทางเพศ
  • โรคตา เช่น ต้อหิน เบาหวานขึ้นตา จอประสาทตาเสื่อมตามอายุ
  • โรคสมาธิสั้น โรคออทิสติกส์
  • โรคหัวใจ คอเลสเตอรอลสูง
  • อาการช่วงก่อนมีประจำเดือน
  • อาการอ่อนเพลีย
  • ป้องกันอาการผิดปกติเมื่อขึ้นที่สูง (Altitude sickness)
  • ควบคุมการหลั่งกรดในกระเพาะ บำรุงตำและถุงน้ำดี
  • ควบคุมความดันโลหิต หอบหืด ภูมิแพ้ หลอดลมอักเสบ
  • โรคเกี่ยวกับระบบประสาท

Benefits

ใบแปะก๊วยช่วยอย่างไร ?

ส่วนที่นำมาเป็นยา คือ ส่วนใบของแปะก๊วย

ใบแปะก๊วยช่วยในการไหลเวียนเลือด ซึ่งอาจช่วยในการทำงานของสมอง ดวงตา ประสาทหู และการได้ยินให้ดีขึ้น อาจช่วยชะลอโรคความจำเสื่อม อัลไซเมอร์ นอกจากนี้ยังช่วยการไหลเวียนเลือดบริเวณขาอีกด้วย

ส่วนเมล็ดแปะก๊วย มีสารที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และ เชื้อรา อย่างไรก็ตาม เมล็ดมีสารที่อาจทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย อาจทำให้เกิดอาการชัก หรือ หมดสติได้ จึงไม่ควรทานเมล็ดแปะก๊วยในปริมาณมากเกินไป


ใบแปะก๊วย & โรคต่างๆ

ใบแปะก๊วยมีประโยชน์กับโรคต่างๆดังต่อไปนี้

  • อัลไซเมอร์ สมอง ความจำเสื่อม บางงานวิจัยพบว่าการกินสารสกัดใบแปะก๊วย อาจช่วยอาการโรคอัลไซเมอร์ได้เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบว่าการกินใบแปะก๊วยช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ บางงานวิจัยพบว่าการกินใบแปะก๊วยเป็นเวลา 5 – 6 เดือน ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่เป็นไม่มากถึงระดับปานกลาง มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการกินยาโรคอัลไซเมอร์ (Aricept) แต่บางงานวิจัยบอกว่าใบแปะก๊วยมีประสิทธิภาพต่ำกว่ายา (Aricept)
  • ความคิด ความจำ งานวิจัยส่วนใหญ่พบว่า ใบแปะก๊วยช่วยในเรื่องความจำ สมาธิ และ การคิดได้รวดเร็วขึ้นในผู้ใหญ่ทั่วไป บางงานวิจัยพบว่าการกินใบแปะก๊วย ร่วมกับโสม (Panax ginseng) ช่วยทำให้ความจำดีขึ้นมากกว่าการกินใบแปะก๊วยเพียงอย่างเดียว แต่บางงานวิจัยบอกว่าการกินร่วมกันไม่ช่วยให้ดีขึ้น
  • เวียนศีรษะ บ้านหมุน พบว่าการกินใบแปะก๊วย สามารถช่วยเรื่องอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน และปัญหาการทรงตัวได้
  • วิตกกังวล พบว่าการกินสารสกัดใบแปะก๊วยเป็นเวลา 1 เดือน สามารถลดอาการวิตกกังวลได้
  • อาการปวดขาเมื่อเดินนานๆ จากโรคหลอดเลือดส่วนปลาย พบว่าการกินใบแปะก๊วย ช่วยทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดส่วนปลายเดินได้ไกลขึ้นโดยไม่ปวด และลดโอกาสที่จะต้องไปผ่าตัด อย่างไรก็ตามต้องกินเป็นเวลานานอย่างน้อย 6 เดือนอาการจึงจะเริ่มดีขึ้น
  • จอประสาทตาจากเบาหวาน (เบาหวานขึ้นตา) พบว่าการกินใบแปะก๊วยช่วยให้การมองเห็นภาพสีดีขึ้น ในผู้ที่จอประสาทตาถูกทำลายจากเบาหวาน
  • อาการช่วงมีประจำเดือน พบว่าการกินใบแปะก๊วยในช่วงวันที่ 15 หลังประจำเดือนวันแรก จนถึงวันที่ 5 หลังมีประจำเดือน ช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก และอาการอื่นๆที่เกิดขึ้นขณะมีประจำเดือนได้
  • โรคจิตเภท (Schizophrenia) พบว่าการกินใบแปะก๊วยควบคู่ไปกับยารักษาโรค ช่วยลดอาการของโรคได้มากขึ้น และยังช่วยลดผลข้างเคียงจากยารักษาด้วย (Haloperidol)
  • โรคสมาธิสั้น บางงานวิจัยพบว่าการกินใบแปะก๊วย ร่วมกับโสมอเมริกัน ช่วยลดอาการสมาธิสั้นได้ ในเด็กอายุ 3-17 ปี ส่วนบางงานวิจัยพบว่าการกินใบแปะก๊วยเดี่ยวๆ ไม่สามารถลดอาการสมาธิสั้นได้ เมื่อเทียบกับยารักษาโรคที่ใช้ในปัจจุบัน (Methylphenidate)
  • โรคออทิสติกส์ งานวิจัยพบว่า การกินแปะก๊วยเป็นเวลา 10 สัปดาห์ ร่วมกับการรักษามาตรฐานในปัจจุบันยังไม่สามารถช่วยลดอาการของโรคได้
  • โรคด่างขาว พบว่าการกินใบแปะก๊วยอาจช่วยลดขนาด และ การกระจายของบริเวณผิวหนังที่เป็นด่างขาวได้
  • ภาวะผิดปกติเมื่อขึ้นที่สูง (Altitude sickness) ผลการทดลองยังไม่ตรงกัน บางงานวิจัยพบว่าการเริ่มกินใบแปะก๊วยก่อนขึ้นที่สูง 4 วัน สามารถช่วยลดอาการที่เกิดขึ้นเมื่อขึ้นที่สูงได้ แต่บางงานวิจัยที่ให้กินใบแปะก๊วยก่อนขึ้นที่สูงเพียง 1-2 วัน พบว่าไม่สามารถป้องกันได้
  • จอประสาทตาเสื่อมตามอายุ (Age-related macular degeneration) มีบางหลักฐานพบว่าใบแปะก๊วยสกัด สามารถช่วยเรื่องการมองเห็นในผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อมตามอายุได้
  • โรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง พบว่าการกินใบแปะก๊วยร่วมกับCoQ10 ช่วยทำให้ผู้ป่วยรูส
  • คุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ พบว่าการกินใบแปะก๊วย ช่วยให้คุณภาพชีวิต เช่น กิจกรรมในแต่ละวัน การนอนหลับ และ อารมณ์ดีขึ้นในผู้สูงอายุ
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศหญิง พบว่าการกินใบแปะก๊วยเป็นเวลา 2 เดือนไม่ช่วยให้หญิงมีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น แต่พบว่า หากกินใบแปะก๊วยร่วมกับ โสม กรดอะมิโนแอลอาร์จินีน วิตามินแร่ธาตุรวม และสมุนไพรอื่นๆ ช่วยให้อารมณ์ทางเพศมากขึ้นได้
  • การฉายรังสีรักษา พบว่าการกินใบแปะก๊วยสามารถช่วยลดอาการข้างเคียงต่างๆจากการฉายรังสีได้
  • สูญเสียการได้ยิน (หูดับ) บางงานวิจัยพบว่า ใบแปะก๊วยช่วยทำให้อาการหูดับดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่า อาการที่ดีขึ้นนั้นเป็นผลจากใบแปะก๊วยหรือ ผู้ป่วยดีขึ้นเอง
  • โรคนิ้วม่วงจากหลอดเลือดส่วนปลาย (Raynaud’s disease) การกินใบแปะก๊วยช่วยลดความถี่ในการปวดลงได้ อย่างไรก็ตาม บางงานวิจัยพบว่าใบแปะก๊วยได้ผลดีไม่เท่ายาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Nifedipine
  • หอบหืด ถุงลมโป่งพอง พบว่าใบแปะก๊วยยังไม่สามารถช่วยเหลืออาการหอบหืด

ใบแปะก๊วย

‘ใบแปะก๊วย’ ที่วัดนาริตะซัน ประเทศญี่ปุ่น :))


Safety

ใบแปะก๊วย

สารสกัดใบแปะก๊วยค่อนข้างปลอดภัยเมื่อกินในขนาดที่เหมาะสม ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เช่น ปวดท้อง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ท้องผูก ใจเต้นแรง และ ผื่นผิวหนัง

ใบแปะก๊วยทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกและฟกช้ำ เลือดออกที่ตา สมอง หรือ เลือดออกมากหลังผ่าตัด

ควรระมัดระวังการใช้ในภาวะต่อไปนี้

  • โรคการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ โรคเกล็ดเลือดต่ำ เนื่องจากใบแปะก๊วยทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง หากมีภาวะนี้ไม่ควรใช้แปะก๊วย
  • อาการชัก เนื่องจากแปะก๊วยอาจกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ หากมีอาการ หรือเป็นโรคชัก ไม่ควรใช้แปะก๊วย
  • โรค G6PD แปะก๊วยอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ในผู้ป่วยโรคนี้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ใบแปะก๊วย
  • ภาวะมีบุตรยาก แปะก๊วยอาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ได้ จึงควรหลีกเลี่ยงหรือปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้
  • เบาหวาน แปะก๊วยอาจลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงควรตรวจระดับน้ำตาลเป็นระยะหากใช้ใบแปะก๊วย
  • เข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากแปะก๊วยทำให้การแข็งตัวของเลือดลดลง จึงควรหยุดการใช้ก่อนเข้ารับการผ่า่ตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • ผู้ที่ทานยาต่อไปนี้ ควรระมัดระวัง หรือปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้แปะก๊วย
    • ยาละลายลิ่มเลือด หรือ ยาลดการแข็งตัวของเลือด เช่น Aspirin, Warfarin เนื่องจากอาจทำให้เลือดออกง่ายมากขึ้นได้ ไม่ควรใช้ร่วมกัน
    • ยาแก้ปวดแก้อักเสบต่างๆ เช่น Ibuprofen เนื่องจากยาแก้ปวดแก้อักเสบเหล่านี้มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด ไม่ควรใช้ร่วมกัน
    • ยาต้านไวรัส HIVs บางชนิด (Efavirenz) เนื่องจากการกินร่วมกันอาจลดประสิทธิภาพของยาต้านไวรัสได้
    • ยานอนหลับคลายเครียด (Xanax) เนื่องจากแปะก๊วยอาจลดประสิทธิภาพของยา Xanax ได้
  • ยาที่อาจทำให้ชักง่ายขึ้น หรือยากันชัก หลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับแปะก๊วย เช่น ยาฆ่าเชื้อ Penicillin, Cephalosporins, Gabapentin และยากันชักอื่นๆ
  • ยาอื่นๆ ที่เมื่อใช้ร่วมกับใบแปะก๊วยอาจมีผลให้เพิ่มหรือลดประสิทธิภาพของยา จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้

เช่น ยาลดความดัน (Propranolol/Metoprolol/Losartan/Hydrochlorothiazide), ยาเบาหวาน (Glipizide), ยาแก้หอบ (Theophylline), ยานอนหลับคลายเครียด (Amitriptyline/Valium), ยาลดกรด (Omeprazole), ยากันชัก (Dilantin), ยาแก้ปวดแก้อักเสบ (Ibuprofen/Diclofenac/Celebrex),ยาแก้ปวด (Tramadol), ยามะเร็งเต้านม (Tamoxifen)

 

ผล หรือ เมล็ดแปะก๊วย

ไม่ควรกินส่วนเมล็ดของแปะก๊วยต้มเกิน 10 ผลต่อวัน เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการผื่นผิวหนัง หายใจลำบาก ชีพจรอ่อนลง ชัก หรือหมดสติได้ โดยเฉพาะผลสดที่ไม่ผ่านการต้ม ซึ่งเป็นพิษ อาจทำให้ชัก หรือ เสียชีวิตได้


How to Choose / Use

ขนาดยาที่มีการใช้ในงานวิจัยต่างๆ

  • สมอง ความจำเสื่อม ใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย 120-240 mg ต่อวัน โดยแบ่งกิน 2-3 ครั้ง
  • ความคิด ความจำ ใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย 120-240 mg ต่อวัน เนื่องจากพบว่าการกินใบแปะก๊วยเพียง 120-240 mg ต่อวัน มีประสิทธิภาพเท่าๆกัน หรืออาจจะมากกว่าการกินขนาดสูง 600 mg ต่อวัน
  • เวียนศีรษะ บ้านหมุน ใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย 160 mg ต่อวัน โดยแบ่งกิน 1-2 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน
  • วิตกกังวล ใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย 80-160 mg วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 1 เดือน
  • อาการปวดขาเมื่อเดินนานๆ จากโรคหลอดเลือดส่วนปลาย ใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย 120-240 mg ต่อวัน โดยแบ่งกิน 2-3 ครั้ง
  • จอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน ใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย 120 mg ต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน
  • ต้อหิน ใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย 120-160 mg ต่อวัน โดยแบ่งกิน 2-3 ครั้ง
  • อาการช่วงมีประจำเดือน ใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย 80 mg วันละ 2 เวลา โดยเริ่มกินตั้งแต่วันที่ 15 นับตั้งแต่มีประจำเดือนวันแรก จนถึง วันที่ 5 ของการมีประจำเดือน เดือนถัดไป
  • โรคจิตเภท ใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย 120-360 mg ต่อวัน เป็นเวลา 2-4 เดือน

สำหรับการใช้ทุกอย่าง ในครั้งแรกควรเริ่มรับประทาน ขนาดไม่เกิน 120 mg ต่อวัน เพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดท้อง


 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending