ยาแก้ปวดที่คุณใช้อยู่ อาจเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวาย 50%

ยาแก้ปวดที่คุณใช้อยู่ อาจเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวาย 50%
0.0
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

ยาแก้ปวด

เมื่อเร็วๆนี้ได้มีงานวิจัยตีพิมพ์ใน Europian Society of Cardiology ว่ายาแก้ปวดที่เราซื้อหาตามร้านทั่วไปแม้แต่เซเว่นได้นั้น สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันมากขึ้น

.

โดยพบว่า ยาแก้ปวดไดโคลฟีแนค (Diclofenac) สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายมากขึ้น 50% ส่วนบรูเฟน (Ibuprofen) คิดเป็น 31%

.

แต่เห็นตัวเลขเยอะแบบนี้ก็อย่าเพิ่งตาโตโอ้โหตกใจไปนะฮะ เพราะที่เพิ่มมาอาจจะไม่ได้มากอะไร อย่างเช่น สมมติคนทั่วไปมีโอกาสหัวใจวายอยู่แล้ว 1 ในแสนคน แต่คนที่กินยาไดโคลฟีแนคจะมีโอกาสหัวใจวายเพิ่มเป็น 1.5 คนในแสนคน ส่วนบรูเฟนก็ 1.31 ในแสนคนอย่างงี้ฮะ

.

ซึ่งหลายคนก็บอกว่าอ่าวแล้วอย่างงี้ก็ไม่เป็นไรมั้งแค่นิดเดียว ดูไม่ได้เยอะอะไร จะคิดแบบนั้นก็ได้ฮะ แต่อย่าลืมว่ายาแก้ปวดพวกนี้ใช้กันแพร่หลายมาก คนใช้กันเป็นหลักสิบล้านร้อยล้านคน ถามหน่อยเพื่อนๆคนไหนไม่เคยกินยาแก้ปวดพวกนี้บ้าง ผมเชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่เคยใช้เลยใช่ไหมฮะ

.

(ส่วนการที่ผมบอกว่า ‘อาจจะ’ เนื่องจากเวลาทดลองว่ามันสัมพันธ์กันนี่ เรายังไม่สามารถสรุปได้ว่าอันไหนเป็นเหตุ อันไหนเป็นผล คือ อาจจะกินยาแก้ปวดพวกนี้ แล้วความเสี่ยงหัวใจวายมากขึ้น หรือ คนจะหัวใจวายอยู่แล้วมักจะมีอาการบางอย่างที่ทำให้ต้องไปหายาแก้ปวดกินก็เป็นได้ฮะ)

.

แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ยาแก้ปวดกลุ่มนี้ มีผลต่อการแข็งตัวของเกร็ดเลือด ทำให้หลอดเลือดหดตัว น้ำคั่งในร่างกาย เพิ่มความดันโลหิต ซึ่งถามว่าแปลกมั้ยถ้ามันจะไปเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวาย ก็ต้องตอบว่าไม่แปลกเลยฮะ สามารถอธิบายได้อย่างดีทีเดียว ดังนั้นความเห็นส่วนตัวผมว่า ใช้เท่าที่จำเป็นดีที่สุดฮะ

.

ทีนี้เราลองมาดูยาแก้ปวดอื่นๆที่เค้าศึกษากันบ้างฮะ ผมเอามาเฉพาะตัวที่บ้านเราใช้กันเยอะๆนะฮะ คือ นาพรอกเซน (Naproxen), ซีลีคอกสิบ (Celecoxib) เค้าพบว่าไม่เพิ่มความเสี่ยงหัวใจวาย อันนี้ก็แลดูปลอดภัยใช่ไหมฮะ แต่จริงๆแล้วงานวิจัยนี้เค้าทำในประเทศเดนมาร์ค ซึ่งมีการใช้ยา 2 ตัวนี้น้อยกว่าบรูเฟน และ ไดโคลฟีแนคมาก ดังนั้นกลุ่มทดลองนี้จึงน้อยกว่า ผลจึงอาจจะแปลความได้ไม่ดีเท่า บรูเฟนกับไดโคลฟีแนค ที่มีกลุ่มทดลองเยอะๆฮะ แต่สำหรับผมว่า เค้ายังไม่พิสูจน์ว่ามันแย่ เราก็ถือซะว่าน่าจะดีกว่าตัวที่พิสูจน์แล้วว่ามันแย่ละกันเนาะ


สรุปง่ายๆ (ถ้าเป็นผมจำเป็นต้องกินยาแก้ปวด ผมจะเลือกอย่างงี้ฮะ)

  1. ถ้าไม่มีโรคประจำตัว หากจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวด (กินพาราเอาไม่อยู่ ร่างกายไม่ไหวจริงๆ ขอระงับความเจ็บปวดเฉพาะหน้าไปก่อน อย่างอื่นค่อยว่ากัน555) ให้กินปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่หายปวดพอฮะ

ถ้าเป็นไปได้เลือก นาพรอกเซน (Naproxen) ถ้าไม่มีก็เอา บรูเฟน (Ibuprofen) เพราะเป็นยาแก้ปวดที่ใช้กันมากสุดหาง่ายสุดถ้าไม่นับพารานะฮะ (แต่อย่ากินเยอะเกิน 1200 มิลลิกรัม) โดยทั่วไปเค้ามักจะขายเม็ด 400 มิลลิกรัมใช่ไหมฮะ แต่จริงๆมันมีโดส 200 มิลลิกรัมอยู่ด้วย คือพวกยาแก้ปวดพวกนี้ หลักการคือ กินเพื่อระงับอาการให้หายปวดเท่านั้น คือ กินน้ิอยที่สุดเท่าที่ยังหายปวด ดังนั้นอย่างผมกินแค่ 200 มิลลิกรัมแล้วหายปวด ผมก็กินแค่นี้พอฮะ

.

  1. ถ้ามีโรคประจำตัว โดยเฉพาะหากเกี่ยวข้องกับระบบหัวใจหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดสมองตีบ หลอดเลือดหัวใจอุดตัน หรือ เบาหวาน ความดัน โดยยิ่งถ้ากินยาเกี่ยวกับละลายลิ่มเลือดอะไรอยู่ด้วย อย่าไปซื้อยาแก้ปวดเองเลยฮะ ไปหาคุณหมอแล้วให้คุณหมอแนะนำดีกว่าฮะ

เพราะอย่างสมมติกินยาละลายลิ่มเลือดแอสไพรินอยู่ ไอ้ยาแก้ปวดที่เราพูดถึงกันอยู่นี่ไม่ว่าจะเป็น บรูเฟน ไดโคลฟีแนค นาพรอกเซน ล้วนเป็นยากลุ่มเดียวกับแอสไพรินทั้งสิ้น หากกินซ้ำซ้อนไปอาจเป็นอันตรายได้ฮะ ดังนั้นให้คุณหมอเป็นคนสั่งและดูแลดีกว่านะฮะ

.

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆที่ปวดหัว ปวดกาย ปวดใจกันบ่อยๆนะฮะ

บีบีเองคับ

:)



Reference

https://www.escardio.org/The-ESC/Press-Office/Press-releases/harmless-painkillers-associated-with-increased-risk-of-cardiac-arrest?hit=twitter


 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending