ทำไมคนเราชอบกินอาหารไม่ Healthy ?

ทำไมคนเราชอบกินอาหารไม่ Healthy ?
0.0
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

ทำไมคนเราชอบกินอาหารไม่ Healthy ?

 


เพื่อนๆสงสัยไหมครับว่า ทำไมเราถึงชอบกินอาหารที่ไม่ค่อยดีกับสุขภาพสักเท่าไหร่ เช่น น้ำอัดลม ไอติม ช็อคโกแลต ขนมหวาน พิซซ่า ไม่เห็นจะอยากกินมะเขือเทศ ผักกาดขาว อะไรพวกนี้เลย

.

ก่อนอื่นเรามารู้จักศัพท์ภาษาอังกฤษคำหนึ่งก่อนฮะ

คำว่า ‘food craving’ หรือ ความอยากกินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากๆ ซึ่งไม่ใช่ ‘ความหิว’ นะฮะ เพราะความหิวคือ อยากกินอาหารที่ให้พลังงานเยอะๆแบบไม่เลือกชนิดเวลาที่เราขาดพลังงาน ซึ่งแตกต่างจาก food craving ที่จะอยากเป็นอย่างๆที่จำเพาะเป็นชนิดๆไป


เพื่อนๆทุกคนคงมีประสบการณ์ เช่น เวลาเรากินข้าวอิ่มแล้ว แต่พอเดินผ่านร้านขนมอาฟเตอร์ยูก็อยากกินขึ้นมาเลยใช่มั้ยล่ะฮะ

.

ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่าสมองของคนนั้นมีการเรียนรู้เพื่อที่จะให้เราอยู่รอดมารุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน โดยอาหารต่างๆที่(สมอง)เรามักชอบ ก็จะเป็นอาหารที่มีพลังงานและสารอาหารและที่เข้มข้นมากๆ เช่น น้ำอัดลม ก็มีน้ำตาลมาก ให้พลังงานมาก กินไปไม่เยอะก็ได้พลังงานมาเยอะแล้ว


ถ้าเป็นสมัยดึกดำบรรพ์พวกมนุษย์ก็ไม่ได้หาอาหารกันได้ง่ายๆ กว่าจะจับสัตว์ได้ ไปเก็บผลไม้ได้นี่ก็ต้องวิ่งไล่ หรือ เดินลุยป่าไปเสาะหาตามที่ต่างๆ ก็ต้องใช้พลังงานไปเยอะแล้วใช่ไหมฮะ ร่างกายก็เลยชอบอาหารอะไรที่ได้สารอาหารมากๆ ยิ่งเข้มข้นยิ่งพลังงานมากยิ่งดี พวกมนุษย์แบบเราๆยิ่งมีโอกาสอยู่รอดมาก เพราะ สมัยนั้นเราหาอาหารมาด้วยความยากลำบาก

.

แต่ทีนี้ด้วยความฉลาด(เกินไป)ของมนุษย์เราที่พัฒนามาเรื่อยๆจนเราไม่ต้องออกแรงอะไรมาก ทำงานก็นั่งโต๊ะเฉยๆทั้งวัน เดินออกไปหน้าที่ทำงานก็มีร้านอาหารอยู่เต็มไปหมด สามารถกินจนพลังงานเหลือเฟือได้ แต่สมองและร่างกายเรายังถูกโปรแกรมมาแบบเดิม คือ ยิ่งมากยิ่งดี สะสมพลังงานเอาไว้ก่อน จึงทำให้พวกเรามีสารอาหารและพลังงานมากเกิน จนกลายเป็นโรคชนิดใหม่ที่มนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์ไม่มี ก็คือโรคอ้วน และ โรคเรื้อรังต่างๆนั่นเอง


มีการทดลองหนึ่ง ได้นำหนูทดลองมาฉีดอาหารพวกแป้งส่งตรงไปยังกระเพาะพร้อมๆกับให้ดมกลิ่นต่างๆ พบว่าต่อมาหนูจะชอบอาหารที่มีกลิ่นหรือรสที่หนูได้ในขณะนั้นไปด้วย การทดลองยังพบอีกว่า นอกจากแป้งแล้ว น้ำตาล ไขมัน หรือ โปรตีน ก็ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมในทำนองเดียวกันได้

.

แสดงให้เห็นว่าสมองของเรามีวงจรที่ซับซ้อนในการกินอาหาร โดยถูกกระตุ้นจากคุณสมบัติที่จำเพาะของอาหาร เช่น รูป รส กลิ่นที่ได้รับพร้อมๆกันในขณะนั้น


ต่อมาพบว่ากลไกที่ทำให้เราเกิดพฤติกรรมแบบนี้ก็คือ เมื่อเรากินอาหารเข้าไป ตัวรับสัญญาณในปากและลำไส้เล็กของเราจะถูกกระตุ้นโดยสารอาหารโมเลกุลเล็กๆที่ถูกย่อยแล้วเช่น กลูโคส ฟรุกโตส กรดไขมัน กรดอะมิโน และส่งสัญญาณไปที่สมองให้หลั่งโดพามีนออกมา .

.

โดยพบว่ายิ่งความเข้มข้นของสารอาหารมาก สารโดพามีนยิ่งหลั่งออกมามาก สารโดพามีนนี้ก็คือสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในวงจรประสาทที่เกี่ยวกับความพึงพอใจของเรานี่เอง (Reward system) ซึ่งจะหลั่งเวลาที่เราพึงพอใจ เช่น ได้รับอาหาร มีเพศสัมพันธ์

.

ก็เหมือนกันกับกลไกในการติดยาเสพติด แต่ยาเสพติดนั้นกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารโดพามีนออกมามากกว่าสิ่งกระตุ้นทั่วไปตามธรรมชาติของเราหลายเท่า จึงทำให้เราติดยาได้ง่าย เพราะจะรู้สึกมีความสุขสุดๆกว่าที่เคยมีมาในชีวิตนี้ (อันนี้ผมก็ไม่เคยฮะ ไม่รู้เหมือนกันว่ามากแค่ไหน 555)

.

แต่สำหรับอาการอยากกินนู่นนี่ หรือ food craving ของเรายังห่างไกลจากยาเสพติดมาก ดังนั้นเพื่อนๆไม่ต้องกลัวฮะ เราลด ละ เลิกอาหารที่ทำให้เสียสุขภาพได้ไม่ยากเลย แค่หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น อย่าไปเดินผ่านร้านขนมบ่อย อย่าดูเฟซบุ๊ครีวิวขนมมากไป เท่านี้เราก็ไม่ต้องตกเป็นทาสของสมองเราล้าวว ^^



ใครไม่อยากพลาดความรู้สนุกๆกับผม อย่าลืมเข้าไปกดไลค์เพจเฟซบุ๊ค แล้วเลือกเห็นโพสต์ก่อนให้ด้วยนะฮับบบ เราจะได้เจอกันบ่อยๆฮะ หรือมาเป็นเพื่อนกันได้ที่ lineID: @ginnginn หรือคลิกตามลิงค์ไปได้เลยฮับบบ

.

ขอบคุณคร้าบบบ แล้วเจอกันๆๆ

:))



Reference:

  • Examine.com “Where do cravings come from?”

https://examine.com/nutrition/where-do-cravings-come-from/?utm_source=facebook&utm_medium=social&utm_campaign=blog-041817

  • National Institute on Drug Abuse “Drugs, Brains, and Behavior: The Science of Addiction”

https://www.drugabuse.gov/publications/drugs-brains-behavior-science-addiction/drugs-brain


 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending