แมกนีเซียม (Magnesium) : มีประโยชน์ยังไง ใครบ้างเสี่ยงต่อการขาดแมกนีเซียม?

แมกนีเซียม (Magnesium) : มีประโยชน์ยังไง ใครบ้างเสี่ยงต่อการขาดแมกนีเซียม?
0.0
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

แมกนีเซียม (Magnesium)

แมกนีเซียม มีประโยชน์ยังไง


Overview

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการขาดแมกนีเซียม ?

  • ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิง
  • มีกระดูกบาง กระดูกพรุน
  • เป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุมน้ำตาลไม่ดี ทำให้ร่างกายดูดซึมแมกนีเซียมได้ลดลง
  • เป็นโรคความดันสูง
  • เป็นโรคหลอดเลือดอุดตันต่างๆ หลอดเลือดสมอง
  • เป็นโรคกระเพาะ หรือ ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ทำให้การดูดซึมแมกนีเซียมไม่ดีเท่าคนทั่วไป

แมกนีเซียมมีในอาหารอะไรบ้าง ?

  • สาหร่าย เช่น เคลป์ หรือ สาหร่ายคอมบุมีแมกนีเซียมสูงมาก
  • ถั่วต่างๆ เช่น อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วบราซิล (Brazil nut) ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เต้าหู้
  • ข้าวกล้อง บาร์เล่ย์
  • ผัก เช่น ผักโขม มะเขือเทศ กระเทียม หอมใหญ่
  • ผลไม้ เช่น กล้วย อะโวคาโด อินทผลัม ลูกฟิก ลูกเกด
  • กากน้ำตาล (blackstrap molasses)
  • นม ชีส

Benefits

แมกนีเซียม มีประโยชน์อย่างไร ?

แมกนีเซียมสำคัญในการเจริญและเสริมสร้างกระดูก การทำงานของเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อ


แมกนีเซียมช่วยในภาวะต่างๆ ต่อไปนี้

  • แมกนีเซียมต่ำ เช่น อาจเกิดในคนที่อาเจียน ท้องเสียมาก ทำให้เสียเกลือแร่แมกนีเซียมไปด้วย, เป็นโรคตับ, หัวใจล้มเหลว หรือ คนกลุ่มต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการขาดแมกนีเซียมที่กล่าวไปข้างต้น
  • ท้องผูก แมกนีเซียมใช้เป็นยาระบาย เช่น MOM (Milk of Magnesia) ที่เป็นยาระบายแบบน้ำที่เราเห็นขายกันทั่วไป
  • ลดกรดในกระเพาะอาหาร เช่น Alum milk ที่เรากินเวลาแสบท้อง (ประกอบด้วย Aluminium hydroxide และ Magnesium hydroxide ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ ช่วยสะเทินกรดในกระเพาะ)
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ ที่มีความดันสูง หรือ ชักในขณะตั้งครรภ์ (pre-eclampsia, eclampsia) แมกนีเซียมใช้เป็นยารักษาป้องกันการชักในผู้ป่วยที่มีภาวะดังกล่าว
  • เบาหวาน พบว่าคนที่กินแมกนีเซียมจากอาหารมากมีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานน้อยกว่าคนที่กินน้อย บางงานวิจัยพบว่าอาจช่วยชะลอภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับปลายประสาทในเบาหวานชนิดที่1 และ ช่วยลดการดื้ออินซูลินในคนที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ อย่างไรก็ตามการกินแมกนีเซียมเสริมในคนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 แล้ว หลักฐานยังไม่ชัดเจนว่ามีประโยชน์หรือไม่
  • ไขมันโลหิตสูง พบว่าแมกนีเซียมคลอไรด์ และ แมกนีเซียมออกไซด์อาจช่วยลดไขมันเลว (LDL cholesterol) ลงได้เล็กน้อย และ เพิ่มไขมันดี (HDL cholesterol) ลงได้เล็กน้อย และอาจช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ในคนที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง
  • ความดันโลหิตสูง พบว่าการกินแมกนีเซียมเสริม อาจช่วยลดความดันตัวล่าง (diastolic blood pressure) ลงได้เล็กน้อยประมาณ 2 มิลลิเมตรปรอท
  • กระดูกบาง หรือ กระดูกพรุน การกินแมกนีเซียมเสริมอาจช่วยป้องกันการสลายกระดูกอย่างรวดเร็วในหญิงสูงอายุที่มีกระดูกพรุน
  • ไมเกรน พบว่าการกินแมกนีเซียมเสริมอาจช่วยป้องกันการปวดไมเกรน และช่วยลดความรุนแรงของการปวดไมเกรนลงได้เล็กน้อย แต่บางงานวิจัยยังผลออกมาไม่ตรงกัน

Safety

  • การกินแมกนีเซียมค่อนข้างปลอดภัย ในขนาดที่ไม่เกิน 350 mg ต่อวันในผู้ใหญ่
  • อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย

ใครที่ควรระวังในการกินแมกนีเซียมเสริม ?

  • โรคไต เนื่องจากอาจมีปัญหาในการขับแมกนีเซียมออกทำให้แมกนีเซียมเกินได้ ไม่ควรทานแมกนีเซียมเสริมเองก่อนปรึกษาแพทย์
  • โรคเลือดหยุดยากต่างๆ เนื่องจากแมกนีเซียมอาจทำให้เลือดหยุดยากขึ้นเล็กน้อย หากมีโรคประจำตัวดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทาน
  • กินยาต่างๆต่อไปนี้
    • ยาฆ่าเชื้อ กลุ่ม quinolone หรือ tetracycline เช่น norfloxacin, ciprofloxacin ที่ใช้ในโรคท้องเสีย หรือ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เนื่องจากแมกนีเซียมอาจลดการดูดซึมยาเหล่านี้ได้ ควรกินแมกนีเซียมหลังจากยาฆ่าเชื้อเหล่านี้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง หรือกินแมกนีเซียมก่อน 4-6 ชั่วโมง
    • ยาโรคกระดูกพรุน (กลุ่ม bisphosphonates) เช่น Fosamax, Actonel เนื่องจากแมกนีเซียมอาจลดการดูดซึมยาเหล่านี้ได้ ควรกินแมกนีเซียมหลังจากยาเหล่านี้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง หรือกินแมกนีเซียมก่อน 4-6 ชั่วโมง
    • ยาฆ่าเชื้อกลุ่ม aminoglycosides เนื่องจากยากลุ่มนี้มีผลต่อกล้ามเนื้อ การกินร่วมกับแมกนีเซียมที่มีผลต่อกล้ามเนื้อเช่นกัน อาจทำให้เกิดปัญหากับกล้ามเนื้อได้
    • ยาคลายกล้ามเนื้อ การกินยาเหล่านี้ร่วมกับแมกนีเซียมอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงของยาคลายกล้ามเนื้อมากขึ้นได้
    • ยาขับปัสสาวะ เนื่องจากยาขับปัสสาวะบางชนิด เช่น spironolactone, amiloride อาจทำให้แมกนีเซียมในร่างกายเพิ่มขึ้นจากปกติอยู่แล้ว
    • ยาลดความดัน เนื่องจากแมกนีเซียมอาจลดความดันเล็กน้อย การกินร่วมกับยาลดความดันอาจทำให้ความดันต่ำเกินไปได้

 


How to Choose / Use

  • สำหรับคนทั่วไป แมกนีเซียมที่ต้องการแต่ละวัน ดังตารางด้านล่าง

Daily Recommended Dietary Allowances (RDA) for elemental magnesium

กลุ่ม อายุ ชาย หญิง
คนทั่วไป 19-30 ปี 400 mg 310 mg
31 ปีขึ้นไป 420 mg 320 mg
หญิงตั้งครรภ์ 14-18 ปี 400 mg
19-30 ปี 350 mg
31-50 ปี 360 mg
หญิงให้นมบุตร อายุ 14-18 ปี 360 mg
อายุ 19-30 ปี 310 mg
อายุ 31-50 ปี 320 mg

 

  • สำหรับโรคกระดูกบาง กระดูกพรุน ตามงานวิจัยต่างๆ มีการใช้ แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ ขนาด 300-1800 mg เป็นเวลา 6 เดือน


 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending