เมลาโทนิน (Melatonin)

เมลาโทนิน (Melatonin)
0.0
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

เมลาโทนิน (Melatonin)

Overview

เมลาโทนิน คืออะไร ?

เมลาโทนิน คือ ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายเราสร้างขึ้น มีหน้าที่ควบคุมวงจรการหลับ และ ตื่นของร่างกาย โดยจะหลั่งมากเวลากลางคืน ทำให้เรารู้สึกง่วง โดยแสงจะเป็นตัวยับยั้งการหลั่งเมลาโทนิน ทำให้เราตื่นในเวลากลางวัน


Benefits

เมลาโทนิน มีประโยชน์อย่างไร ?

เนื่องจากเมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมวงจรการหลับ ตื่น และพบว่าผู้ที่มีปัญหาการนอนบางส่วนมีการหลั่งเมลาโทนินน้อยร่วมด้วย จึงมีการสังเคราะห์เมลาโทนินขึ้นเพื่อใช้ช่วยในการนอนหลับ หรือ ภาวะที่ต้องการปรับนาฬิการ่างกาย (Biological clock) เช่น ภาวะที่ปรับเวลาไม่ได้เวลาบินข้ามโซนเวลา (Jet lag) หรือ ในคนที่ทำงานเป็นกะ เป็นต้น


เมลาโทนิน & ภาวะต่างๆ

เมลาโทนิน อาจช่วยในภาวะต่างๆต่อไปนี้

  • นอนไม่หลับ การกินเมลาโทนินอาจช่วยให้ผู้ที่ใช้เวลานานก่อนจะหลับ หลับได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ภายใน 1 ปี หลังจากหยุดกิน อาการนอนไม่หลับอาจกลับมาใหม่ได้
  • ปัญหานอนไม่หลับในผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ความจำเสื่อม (dementia) โดยพบว่าเมลาโทนินช่วยให้หลับได้เร็วขึ้น และ ลดการตื่นกลางดึกได้
  • ปัญหาการนอนหลับในเด็ก หรือ วัยรุ่น ที่มีปัญหาเกี่ยวกับวงจรการหลับและตื่น เช่น เด็กหรือวัยรุ่นที่มีปัญหาพัฒนาการต่างๆ, ออทิสติก, หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง พบว่าเมลาโทนินช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้นได้ รวมถึงช่วยให้คุณภาพของการนอนหลับดีขึ้นได้
  • ภาวะที่ปรับเวลาไม่ได้เวลาบินข้ามโซนเวลา (Jet lag) งานวิจัยส่วนใหญ่พบว่า เมลาโทนินช่วยให้อาการต่างๆ เช่น ตื่นตัวเวลากลางคืน ง่วงและเหนื่อยอ่อนเพลียเวลากลางวัน ดีขึ้นได้ แต่อาจไม่ช่วยให้คนที่มีอาการ Jet lag นอนหลับได้เร็วขึ้น
  • ปัญหาการนอนหลับในผู้ที่ตาบอด (เนื่องจากเชื่อว่าการที่ตามองไม่เห็นทำให้การรับรู้แสงของร่างกายผิดไป และรบกวนวงจรการนอนหลับปกติ) พบว่าเมลาโทนินช่วยให้อาการนอนไม่หลับในกลุ่มคนตาบอด ดีขึ้นได้
  • อาการปวดมดลูกจากเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) หรือกลุ่มช็อคโกแลตซิสต์ พบว่าการกินเมลาโทนินเป็นเวลา 2 เดือน ช่วยลดอาการปวดได้ 3% และ ลดการใช้ยาแก้ปวดได้ 46%

นอกจากนี้ ภาวะต่อไปนี้ยังต้องการการศึกษาต่อไป

  • อาการถอนจากนิโคติน เช่นในคนที่สูบบุหรี่ พบว่าการกินเมลาโทนินก่อนการเลิกนิโคติน 5 ชั่วโมง ช่วยลดอาการถอนนิโคตินได้ เช่น อาการอยู่ไม่นิ่ง เหงื่อแตกใจสั่น หรืออาการอยากบุหรี่
  • อาการนอนละเมอ บางงานวิจัยพบว่า การกินเมลาโทนินก่อนนอน ช่วยลดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อขณะนอนหลับได้ในผู้ที่มีอาการดังกล่าวได้
  • อาการซึมเศร้าตามฤดูกาล งานวิจัยเบื้องต้นพบว่า การกินเมลาโทนินช่วยลดอาการซึมเศร้าในฤดูหนาวในผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามเมลาโทนินแบบอมใต้ลิ้นที่ออกฤทธิ์ทันที ไม่พบว่ามีผลดังกล่าว

Safety

โดยทั่วไปเมลาโทนินค่อนข้างปลอดภัยเมื่อใช้รับประทานในระยะสั้นๆ มีการรับประทานในระยะยาวถึง 2 ปีในคนบางกลุ่มพบว่าปลอดภัย อย่างไรก็ตามเมลาโทนินอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ ซึมเศร้าเป็นช่วงสั้นๆ ง่วงนอนเวลากลางวัน เวียนศีรษะ ปวดท้อง หรือ อาการอยู่ไม่นิ่ง (Irritability) ไม่่ควรขับรถ หรือ ทำงานกับเครื่องจักรในช่วง 4-5 ชั่วโมงหลังกินเมลาโทนิน

 

ควรระมัดระวังการใช้ในคนกลุ่มต่างๆต่อไปนี้

  • เด็ก หรือ วัยรุ่น เนื่องจากเมลาโทนินอาจมีผลต่อฮอร์โมนต่างๆ ซึ่ง อาจรบกวนการเจริญเติบโตของเด็กหรือวัยรุ่น เนื่องจากยังไม่มีข้อมูล จึงยังไม่แนะนำให้รับประทานระยะยาว
  • การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เมลาโทนินอาจทำให้เลือดหยุดยากเป็นมากขึ้นได้
  • ความดันโลหิตสูง เมลาโทนินอาจทำให้ความดันสูงขึ้นในผู้ที่กำลังทานยาความดันบางชนิดอยู่
  • เบาหวาน เมลาโทนินอาจเพิ่มระดับน้ำตาลในผู้ที่เป็นเบาหวาน ดังนั้นหากเป็นเบาหวานและต้องการใช้เมลาโทนิน ควรปรึกษาแพทย์และตรวจติดตามระดับน้ำตาลเป็นระยะๆ
  • ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า เนื่องจากเมลาโทนินอาจทำให้อาการซึมเศร้าเป็นมากขึ้นได้
  • ผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เนื่องจากเมลาโทนินอาจทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานมากขึ้น และอาจทำให้ยากดภูมิทำงานได้ลดลงได้
  • โรคชัก เมลาโทนินอาจทำให้มีโอกาสชักมากขึ้นได้
  • ผู้ที่ใช้ยาต่างๆต่อไปนี้ ควรระมัดระวังในการใช้เมลาโทนิน
    • ยานอนหลับ หรือ คลายเครียด เนื่องจากอาจเสริมฤทธิ์กันทำให้มีอาการง่วงซึมมากเำกินไปได้
    • ยาคุมกำเนิด เนื่องจากยาคุมอาจทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินเพิ่มขึ้น การกินเมลาโทนินเพิ่มเข้าไปอาจทำให้ปริมาณเมลาโทนินในร่างกายมากเกินไปได้
    • ยากดภูมิคุ้มกัน เนื่องจากเมลาโทนินอาจทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานมากขึ้นได้
    • ยาละลายลิ่มเลือด หรือ ยาต้านเกล็ดเลือด เช่น Aspirin, Warfarin หรือ ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ที่อาจมีฤทธิ์ต่อการแข็งตัวของเลือดเช่นกัน เช่น Ibuprofen, Diclofenac เนื่องจากเมลาโทนินอาจทำให้การแข็งตัวของเลือดช้าลง อาจทำให้เลือดหยุดยากมากขึ้นได้
  • ผู้ที่ใช้ยาหรือสารต่อไปนี้ อาจได้ผลจากการใช้เมลาโทนินน้อยกว่าปกติ
    • คาเฟอีน เนื่องจากคาเฟอีนทำให้ระดับเมลาโทนินในร่างกายลดลง
    • ยาลดความดัน หรือ ยาโรคหัวใจ Verapamil (Isoptin) เนื่องจากยานี้จะทำให้ร่างกายกำจัดเมลาโทนินเร็วขึ้น

How to Choose / Use

ขนาดที่มักใช้ในการศึกษาต่างๆ เป็นดังนี้

  • สำหรับอาการเริ่มนอนหลับยาก ใช้ขนาด 3 – 5 mg มีการใช้นานที่สุด 9 เดือน
  • อาการนอนไม่หลับ ใช้ 2 – 3 mg ก่อนนอน มีการใช้นานประมาณ 7 เดือน
  • อาการปรับเวลาไม่ได้ (Jet lag) ทานขนาด 5 – 8 mg ให้เริ่มกินเมลาโทนินเวลาก่อนนอนในวันที่ไปถึง และกินต่อเนื่องนาน 2 – 5 วัน การใช้ขนาดต่ำๆ 0.5 – 3 mg จะช่วยลดผลข้างเคียงอาการง่วงเกินไปได้ดีกว่าการใช้ขนาดสูง 4 – 5 mg
  • สำหรับปัญหาการนอนหลับในผู้ที่ตาบอด มีการใช้เมลาโทนินขนาด 5 – 5 mg เป็นเวลานาน 6 ปี

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending