วิตามินดี (Vitamin D) : มีประโยชน์อย่างไร ? ใครควรได้รับวิตามินดีเสริมบ้าง ?

วิตามินดี (Vitamin D) : มีประโยชน์อย่างไร ? ใครควรได้รับวิตามินดีเสริมบ้าง ?
User Rating 0 (0 votes)
Sending
0 (0 reviews)

วิตามินดี (Vitamin D)
Vitamin D2 (Ergocalciferol) –> รูปที่ได้จากอาหารทั่วไป
Vitamin D3 (Cholecalciferol) –> รูปที่ได้จากแสงแดด

วิตามินดี


Overview

วิตามินดี เป็นวิตามินละลายในไขมัน พบในอาหาร เช่น ปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาทูนา ปลาซาร์ดีน นอกจากนี้ยังมีการใส่ไปในนม ซีเรียล ที่ระบุว่าเสริมวิตามินดี (fortified products) แต่ส่วนมาก 80-90% ของวิตามินดีในร่างกายเราได้รับมาจากการสังเคราะห์ทางผิวหนังจากแสงแดด แม้ว่าประเทศไทยจะได้รับแสงแดดมาก แต่คนบางกลุ่มมีโอกาสขาดวิตามินดีได้


ใครเสี่ยงขาดวิตามินดีบ้าง ?

  • คนที่ทำงานในร่มตลอดเวลา เช่น พนักงานออฟฟิศ
  • ทาครีมกันแดดเป็นประจำ
  • ผู้สูงอายุโดยเฉพาะอายุมากกว่า 65 ปี มีโอกาสขาดวิตามินดี เนื่องจาก อาจมีโอกาสอยู่กลางแดดน้อยลง การรับประทานอาหาร ตัวรับบริเวณผิวหนัง หรือ ประสิทธิภาพของร่างกายในการดูดซึมวิตามินดีทำได้น้อยลง

Benefits

วิตามินดีมีประโยชน์อย่างไร ?

วิตามินดี ช่วยในการรักษาสมดุลของ แคลเซียม และ ฟอสฟอรัสในร่างกาย

ปัจจุบันพบว่า นอกจากเป็นวิตามินแล้ว วิตามินดียังเป็นฮอร์โมนอีกด้วย ซึ่งช่วยในการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย และมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรังที่พบบ่อยๆเช่นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันสูง


วิตามินดี & โรคต่างๆ

วิตามินดีมีประโยชน์กับโรคต่างๆต่อไปนี้

ประโยชน์ในการรักษา

  • โรคขาดวิตามินดี
  • โรคริคเก็ตส์ (Ricket disease)
  • โรคกระดูกอ่อนตัว (Osteomalacia)
  • โรคสะเก็ดเงิน โดยพบว่าการทาครีมวิตามินดี ร่วมกับสเตอรอยด์ ได้ผลดีกว่าการทาวิตามินดี หรือ ทาสเตอรอยด์เพียงอย่างเดียว
  • ผู้ป่วยที่มีระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ เช่น ภาวะแคลเซียมต่ำจากฮอร์โมนพาราไทรอยด์ต่ำ
  • ผู้ป่วยที่มีระดับฟอสฟอรัส ในเลือดต่ำ เช่น ผู้ที่เป็นโรคฟอสฟอรัสต่ำจากพันธุกรรม

ประโยชน์ในการเสริมสุขภาพ

  • โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ (Osteoporosis) การรับประทานวิตามินดี ในฟอร์ม Vitamin D3 (Cholecalciferol) อาจช่วยป้องกันภาวะมวลกระดูกลดลง และ กระดูกหักได้
  • ผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตอรอยด์เป็นเวลานาน
  • อาจช่วยป้องกันมวลกระดูกลดลง หรือ อาจเพิ่มมวลกระดูก ในผู้ที่มวลกระดูกลดลงจากสเตอรอยด์ได้
  • เบาหวาน พบว่าในกลุ่มผู้ที่วิตามินดีต่ำ มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (เบาหวานที่พบทั่วไปในผู้ใหญ่) มากกว่ากลุ่มที่มีระดับวิตามินดีสูง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาชัดเจนว่า การกินวิตามินดีเสริมสามารถป้องกัน หรือ รักษาโรคเบาหวานได้หรือไม่
  • ความดันโลหิตสูง พบว่าผู้ที่ระดับวิตามินดีต่ำ มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่า อย่างไรก็ตาม การกินวิตามินดีเสริมสามารถลดความดันได้หรือไม่นั้น งานวิจัยหลายชิ้นยังไม่สรุปผลออกมาตรงกัน มีเพียงบางชิ้นที่บอกว่าสามารถลดความดันโลหิตลงได้
  • ไขมันโลหิตสูง (High cholesterol) พบว่าผู้ที่ระดับวิตามินดีต่ำ มีความสัมพันธ์กับการเป็นคอเลสเตอรอลสูงมากกว่า บางงานวิจัยพบว่า การกินวิตามินดี ร่วมกับแคลเซียมเสริม และอาหารแคลอรีต่ำ สามารถเพิ่มไขมันชนิดดี HDL cholesterol ได้อย่างมีนัยสำคัญ และลดไขมันชนิดไม่ดี LDL cholesterol ในผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ได้ อย่างไรก็ตามหากไม่ได้ควบคุมอาหารร่วมด้วย พบว่าไม่สามารถลด LDL cholesterol ได้ ส่วนบางงานวิจัยกล่าวว่าการกินวิตามินดีเสริมอาจเพิ่ม LDL cholesterol และไม่มีผลกับการเพิ่มไขมันชนิดดี หรือ ลดไขมันชนิดไม่ดีอื่นๆได้
  • โรคหอบหืด (Asthma) บางงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคหอบหืดมักมีระดับวิตามินดีต่ำ มีงานวิจัยในเด็กพบว่าการกินวิตามินดีเสริม อาจช่วยลดโอกาสการเกิดอาการหอบหืดได้ ในช่วงอากาศเย็น หรือ ช่วงที่เป็นหวัด
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) บางงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักมีระดับวิตามินดีต่ำ แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการกินวิตามินดีเสริมสามารถช่วยลดอาการหอบเหนื่อยได้หรือไม่

โดยในบางภาวะเหล่านี้ยังต้องการการศึกษาต่อไปครับ


Safety

โดยทั่วไปวิตามินดีปลอดภัย และ ผลข้างเคียงพบได้น้อย เมื่อกินไม่เกินขนาดที่แนะนำ หากกินเกินปริมาณที่แนะนำอาจมีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง ง่วงนอน ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ปากแห้ง ปากขม คลื่นไส้ อาเจียน

การกินวิตามินดีเป็นเวลานานในขนาดสูงกว่า 4000 units (IU) ต่อวัน อาจไม่ปลอดภัย เนื่องจากอาจทำให้แคลเซียมในเลือดสูงเกินปกติ อย่างไรก็ตาม วิตามินดีขนาดสูงในระยะสั้นๆ อาจมีที่ใช้ในโรคขาดวิตามินดีโดยความดูแลของแพทย์

การรับประทานวิตามินเสริมมีข้อควรระวังในบุคคลต่อไปนี้

  • โรคไต อาจเพิ่มระดับแคลเซียมในเลือด ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงให้หลอดเลือดแข็งตัวได้ อาจต้องพิจารณาความเสี่ยงนี้กับ ข้อดีในการป้องกันโรคกระดูกเสื่อมที่อาจเกิดจากโรคไต เนื่องจาก โรคไตทำให้เสียแคลเซียมและฟอสเฟตมากกว่าปกติได้ โดยต้องติดตามระดับแคลเซียมในผู้ป่วยโรคไตเป็นระยะๆ
  • ผู้ที่มีระดับแคลเซียมในเลือดสูงอยู่แล้ว เช่น โรคมะเร็งบางชนิด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง วัณโรค โรคติดเชื้อ (Sarcoidosis) ผู้ที่มีภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (Hyperparathyroidis) เนื่องจากวิตามินดีทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงขึ้นได้
  • โรคหลอดเลือดแข็งตัว (Atherosclerosis) การรับประทานวิตามินดีเสริม อาจทำให้ภาวะนี้เป็นมากขึ้นได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตร่วมด้วย
  • ผู้ที่กินยา เช่น ยาโรคหัวใจ Digoxin, Diltazem, Verapamil เนื่องจากแคลเซียมเกี่ยวเนื่องกับการทำงานของหัวใจ, ยาขับปัสสาวะกลุ่มThiazide เนื่องจากยากลุ่มนี้บางตัว เช่น Hydrochlorothiazide ทำให้ปริมาณแคลเซียมในร่างกายเพิ่มขึ้นเช่นกัน , ยาที่มีส่วนประกอบ Aluminium เนื่องจากวิตามินดีทำให้ดูดซึมอลูมิเนียมมากขึ้นกว่าปกติได้

How to Choose / Use

ใช้วิตามินดีขนาดเท่าไร ?

  • ป้องกันกระดูกพรุน หรือ กระดูกหัก ใช้ 400-1,000 IU ต่อวันสำหรับผู้สูงอายุ ผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะนำให้บริโภค 1,000-2,000 IU ต่อวัน
  • อาการปวดกล้ามเนื้อในผู้ที่กินยาลดไขมัน statin ใช้ วิตามิน D2 (Ergocalciferol) หรือ วิตามิน D3 (Cholecalciferol) 400 IU ต่อวัน

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending