กลูโคซามีน (Glucosamine)

กลูโคซามีน (Glucosamine)
0.0
User Rating 0 (0 votes)
Sending
5 (1 review)

กลูโคซามีน (Glucosamine)

กลูโคซามีน


Overview

กลูโคซามีน เป็นสารชนิดหนึ่งที่พบในร่างกายบริเวณข้อต่อต่างๆ โดยร่างกายนำไปใช้ในการผลิตเอ็น กระดูกอ่อน และ น้ำหล่อเลี้ยงข้อ กลูโคซามีนในอาหารเสริมอาจมาจากสังเคราะห์ขึ้นมา หรือ จากธรรมชาติ เช่น ผลิตจากเปลือกกุ้ง หรือ ปู

กลูโคซามีนมีหลายชนิด ชนิดที่ใช้กันส่วนใหญ่คือ กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine sulfate)


Benefits

กลูโคซามีน & โรคต่างๆ

กลูโคซามีนมีประโยชน์กับโรคต่างๆดังนี้

  • โรคข้อเสื่อม เช่น ข้อเข่าเสื่อม บางงานวิจัยพบว่ากลูโคซามีนสามารถลดอาการปวดได้เทียบเท่ายาแก้ปวดพาราเซตามอล หรือ ยาแก้อักเสบ (NSAIDs) ที่ใช้ทั่วไป เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือ ไพรอกซิแคม (Piroxicam) โดยพบว่าผู้ป่วยที่ใช้แล้วได้ผลดีมักเป็นผู้ป่วยที่เข่าเสื่อมไม่มาก หรือ เป็นมาไม่นาน หากผู้ป่วยที่เข่าเสื่อมเป็นมาก และเป็นมานาน หรือผู้สูงอายุมากๆ หรือ น้ำหนักมาก กลูโคซามีนอาจได้ผลไม่ดี หรืออาจไม่ได้ผล กลูโคซามีนอาจช่วยในการชะลอการเสื่อมของข้อหากใช้ต่อเนื่อง

Safety

โดยทั่วไป กลูโคซามีนค่อนข้างปลอดภัย ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น คลื่นไส้ จุกแน่น ท้องเสีย ท้องผูก ผลข้างเคียงที่พบไม่บ่อย เช่น ปวดศีรษะ ซึม ผื่นผิวหนัง

มีบางงานวิจัยกล่าวว่าการกินกลูโคซามีนติดต่อกันเป็นเวลานานอาจเสี่ยงต่อความดันลูกตาสูงขึ้น เสี่ยงการเป็นต้อหินมากขึ้นได้

ควรระมัดระวังการใช้ในกรณีต่อไปนี้

  • ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด Warfarin เนื่องจากการใช้ยา Warfarin ร่วมกับกลูโคซามีน ทำให้เลือดแข็งตัวยากขึ้น ทำให้เลือดออก และเป็นอันตรายได้ ห้ามรับประทานกลูโคซามีนร่วมกับยา Warfarin
  • ผู้ป่วยมะเร็ง หรือ ใช้ยาเคมีรักษามะเร็ง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานกลูโคซามีน เนื่องจากนักวิจัยบางคนเชื่อว่ากลูโคซามีนอาจช่วยในการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจทำให้ยาที่ใช้ได้ผลลดลงได้
  • เบาหวาน มีบางงานวิจัยเดิมพบว่า กลูโคซามีนอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยใหม่ๆที่น่าเชื่อถือมากกว่าพบว่า กลูโคซามีนไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานได้ โดยอาจตรวจติดตามระดับน้ำตาลเป็นระยะ
  • ความดันโลหิตสูง บางงานวิจัยเดิมพบว่ากลูโคซามีนทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยใหม่ที่น่าเชื่อถือมากกว่าพบว่า กลูโคซามีนไม่มีผลต่อความดันโลหิต จึงแนะนำให้ตรวจติดตามความดันโลหิตเป็นระยะๆ
  • ไขมันโลหิตสูง บางงานวิจัยเดิมพบว่ากลูโคซามีนทำให้ไขมันสูงในสัตว์ทดลอง แต่พบว่าเมื่อทดลองในคนไม่พบว่าทำให้ไขมันสูงขึ้น จึงแนะนำให้ตรวจติดตามระดับไขมันเป็นระยะๆ
  • แพ้อาหารทะเล เนื่องจากมีกลูโคซามีนที่มาจากธรรมชาติบางชนิด ทำมาจากเปลือกกุ้ง หรือ ปู อย่างไรก็ตามผู้ที่แพ้กุ้ง ปู มักแพ้สารในเนื้อ ไม่ได้แพ้สารที่เปลือก ดังนั้นบางรายงานกล่าวว่าผู้ที่แพ้อาหารทะเลสามารถรับประทานกลูโคซามีนได้อย่างปลอดภัย

How To Choose / Use

  • ควรเลือกใช้กลูโคซามีนชนิด กลูโคซามีน ซัลเฟต (Glucosamine sulfate) เนื่องจากเป็นชนิดที่งานวิจัยส่วนใหญ่นำมาใช้ทดลอง เพราะซัลเฟตในร่างกายก็มีส่วนช่วยในการสร้างกระดูกอ่อนด้วย
  • อาจต้องใช้เวลาหลังเริ่มกินกลูโคซามีนประมาณ 4-8 สัปดาห์ จึงจะเริ่มลดอาการปวดจากข้อเสื่อมที่เกิดขึ้น
  • สำหรับโรคข้อเสื่อม กินกลูโ่คซามีน 1500 mg ต่อวัน วันละครั้ง หรือแบ่งเป็น 500 mg กินวันละ 3 เวลา โดยอาจกินเดี่ยวๆ หรือ กินร่วมกับคอนโดรอิตินซัลเฟต (Chondroitin sulfate) 400 mg วันละ 2-3 ครั้ง

 

1 thought on “กลูโคซามีน (Glucosamine)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Sending